กล่าวถึงตำราแรกนา นอกจากนี้ยังมีเรื่องดำเนินพระราม, เทพจร, กามจร, นาคสมพงษ์, กรุงพาลี, ทำนายต่างๆ เช่น ทำนายหนูร้อง ทำนายแมงมุมตีอก ทำนายหนูกัดผ้า ทำนายหนูกัดตัว เป็นต้น
คาถาหัวใจ หรือ หัวใจพระคาถา เป็นบทย่อของพระคาถาซึ่งถอดออกมาเป็นคำสั้น ๆ เพื่อให้จดจำได้รวดเร็วแต่ยังคงความหมายและความศักดิ์สิทธิ์ไว้เช่นเดิม คาถาหัวใจที่ปรากฏในสมุดไทย อาทิ หัวใจพระมหาชนก หัวใจพระเพชร หัวใจพระสุวรรณสาม หัวใจตรีนิสิงเห หัวใจพระเตมีย์ หัวใจงู หัวใจคน เป็นต้น นอกจากคาถาที่กล่าวถึงไปแล้วนั้น ยังมีคาถาหัวใจที่กล่าวถึงนอกเหนือจากคาถาหัวใจ 108 อีกด้วย เช่น หัวใจนภา หัวใจมงคล เป็นต้น การตั้งพิธีตีแถลงหรือแสลงก็ได้ ผู้ปริวรรตเข้าใจว่าเป็นพิธีที่ตั้งขึ้นเพื่อปัดพิษร้าย คุณไสยต่างๆ ให้ออกจากจากร่างกายของคน และโองการมหาเถรตำแย
สมุดไทยขาวบันทึดก้วยอักษรไทย ภาษาไทย สภาพเอกสารสมบูรณ์ดี แม้จะมีรอยขาดเล็กน้อย แต่ไม่มีผลต่อการศึกษาเนื้อหาเอกสาร เนื้อหากล่าวถึงตำรายาเกร็ด ซึ่งยาเกร็ดที่ตำรายาที่ชาวบ้านนิยมใช้รักษาโรค บางทีก็เรียกยากลางบ้าน เช่น ยาแก้ไข้ ยาหอมไข้ ยาต้มสันนิบาตเหนือ ยาต้มสันนิบาตแก้อ้าปากมิออก ยาแก้กาฬ ยาหอมสันนิบาต ยาสว่างอารมณ์ ยาหอมใหญ่ ยาสมานปาก ยาต้มแก้ไข้บิด ยาประทุมไสยาสน์ ยาผงสันนิบาต ยาต้มแก้ไข้คลั่ง ยาแปลไข้ เป็นต้น
สมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย สภาพเอกสารไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายขาดหายไปบางส่วน เนื้อหากล่าวถึงตำรายารักษาโรคต่าง ๆ เช่น ยาประสะน้อย ยาประสะขาวใหญ่ ยาโลหิตพินาศ ยาขับน้ำคาวปลาชื่อสังขวิชัย ยาต้มแก้ริดสีดวงจมูก ยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก ยาต้มแก้ริดสีดวงพลวก ยาต้มแก้มะเร็งคุด ยาแก้โรคสำหรับบุรษ ยาเขียวมหากาฬ ยาอาคเนย์สัญ ยาแดง ยาแก่อุปทม ยาแก้ซาง ยาแก้ไข้เพื่อเสลด ยาเหลืองพรหมมาศ ยาแก้กาฬสิงคลี ยาแก้สะอีก ยาแก้ไข้กล่อน เป็นต้น
คัมภีร์มรญาณสูตร เกี่ยวกับบอกวิธีสังเกตนิมิตของผู้ใกล้ตาย ซึ่งอยู่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์
เนื้อเรื่องของ อานิสงส์สังขยาธรรม ในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมหวัดนั้น กล่าวถึงเรื่อง “พรหมชาลสูตร” พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ส่วนเนื้อเรื่องในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมไทยบรรจง กล่าวถึงเรื่อง อานิสงส์สังขยาธรรม หรืออานิสงส์การสังคายนาพระไตรปิฎก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานแก่พระอริยะสงฆ์ทั้ง 500 จัดตั้งการสังคายนา
โรคนิทาน แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า โกมารภัจแพทย์ เป็นผู้แต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกล่าวยกย่องโกมารภัจในฐานะเป็นครูทางการแพทย์ไทยคนหนึ่ง (อ้างอิงจาก : บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่นๆ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หน้า 569.
หน้าต้นระบุว่า “หน้า 88 ปฐมจินดา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 ว่าด้วยรักษาครรภ์ต่อไป”