เอกสารโบราณ

คำประพันธ์ : ร้อยแก้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,277 รายการ (142 หน้า)

NPT003-006 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , ตำรายา , สมุนไพร , รักษาโรค

เอกสารโบราณ กล่าวถึง โรคและสมุนไพรในการรักษาโรค เช่น ยารักษาโรคตา ยาแก้โรคสันนิบาต เป็นต้น

NPT003-005 โจทย์คณิตศาสตร์

ตำราเวชศาสตร์ , ตำราคณิตศาสตร์
วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , คณิตศาสตร์ , ตำรายา , โจทย์เลข , แบบฝึกหัด

หน้าต้น กล่าวถึง โจทย์เลขคณิตสอนวิธี บวก ลบ คูณ หาร เขียนด้วยหมึกดำลายมือเป็นระเบียบสวยงาม หน้าปลาย เป็นตำรายา กล่าวถึงโรคและสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ

NPT003-004 ตำนานมูลศาสนา

ธรรมคดี
วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , ธรรมคดี , สมุดไทย ,

ตำนานมูลศาสนา หรือ มูลศาสนาวงศ์ เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา แต่งโดยพระพุทธกามและพระพุทธญาณ ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงพญาแก้ว ต้นฉบับในใบลาน ใช้ชื่อว่า มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) และมาใช้ชื่อ ตำนานมูลศาสนา เมื่อกรมศิลปากรปริวรรต ฉบับภาษาไทยกลาง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2480

NPT010-003 อาการมรณะญาณ

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
NPT010-003 , ตำรายา , ตำราโหราศาสตร์ , นครปฐม , วัดสำโรง

อาการมรณะญาณ หรือคัมภีร์มรณญาณสูตร เป็นคัมภีร์ที่กล่าวเกี่ยวกับการรับรู้หรือนิมิตของบุคคลก่อนที่จะตาย ซึ่งอยู่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ หมวดตำราเวชศาสตร์

RBR003-263 พุทธวงศ์ ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , พุทธวงศ์ , สาย , พระพุทธเจ้า

RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า พุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ แล บริบูรณ์แล้วเท่านี้แล คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พุทธวงส์” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่มเศษแล” หน้าปลาย ระบุ “๚ หน้ารับปลายพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก)

RBR003-253 มหาวงศ์ ผูก 2

ธรรมคดี , ประวัติศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มหาวงศ์ , พงศาวดารเมืองลังกา

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ตัวบ่ใคร่ละเอียดเนอฯ ฯะ ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล ท่องแล้วทานแล้วตามสบับเก่าเพิ่นแล” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” และสีแดง “ผูกที่ ๒” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๒ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลานระบุ “ธมฺมโสกาภิเสฺกกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ สวณฺณนา แก้ไขในมหาวงศ์ห้องอภิเษก ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่ม พ.ศ.๒๔๖๓ ปีวอก เดียน ๓ ออกใหม่ ๙ ค่ำ ยามนั้นแล ๚ อหํ นาม ชื่อว่า ผู้ใหญ่คำ บ้านนาโป่ง หมู่ที่ ๕ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลพิษณุโลก เป็นลิขิตหื้อปู่ใจ เมืองราทธี มีใจบุพเจตนาบ่แล้ว ๚ ผ่องแผ้วยินดี แม่นว่า เกิดมาในชาติใดๆ ก็ดี ขอให้มีพี่แก้วน้องแก้วมิตรสหายแก้วอันยิ่งโยชน์ในพระศรีอริยเมตไตรยภายในฝ่ายก้ำหน้าแด่เทอะ ตัวอักษรข้าเจ้าก็บ่ใคร่งามเต็มทีเนอ พ่อลุงเหย ฯ อายุ วณฺโณ สุข พลนฺติ สาธุ สาธุ แด่เทอะ” (ตัวเอียงจารด้วยอักษรไทย) หน้าปลาย ระบุ “๚ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ๚ ปริปุณณะ ฯฯ” วันเวลาที่จารเสร็จ สันนิษฐานว่าตรงกับตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2464(2463 เป็นปีที่ยังถือเอาเดือนเมษายนเป็นวันปีใหม่)

SKN001-075 อานิสงส์สงกรานต์

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , อานิสงส์

อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ

SKN001-073 เทศน์มอญ 12 ธรรมาสน์ สัจจะบารมี

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , สัจจะบารมี , เทศน์

สัจจะบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีสัจจะ คือ ความตั้งใจจริง การทำจริง และการพูดคำสัตย์

SKN001-070 เทศน์มอญ 12 ธรรมาสน์ อุเบกขาบารมี

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , บารมี , อุเบกขา , การเทศน์

อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้