เอกสารโบราณเป็นใบลานขนาดสั้น เรียก ใบลานก้อม (ขนาดสั้นกว่าใบลานขนาดปกติ) จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย
หน้าสุดท้ายพบบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลานความระบุถึงผู้สร้างคัมภีร์ถวายในพระพุทธศาสนาว่า “หมู่ชุ่มสร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้สำเร็จพระนิพพาน ในอนาคตกาลโน้น”
“สัตต” บาลีเขียน “สตฺต” แปลว่า เจ็ด, “ปริตร” บาลีเขียน “ปริตฺต” แปลว่า การป้องกัน, การรักษาให้ปลอดภัย; ของขลังสำหรับป้องกันตัว, ของที่ช่วยบรรเทา, เครื่องราง
สัตตปริตร คือบทสวดมนต์เจ็ดบท หรือ “เจ็ดเรื่อง” คือ พระปริตรที่มีอำนาจคุ้มครองป้องกันตามเรื่องต้นเดิมที่เล่าไว้ว่าแต่ละบทมีต้นกำเนิดมาอย่างไรและมีอานุภาพเป็นเช่นไร ซึ่งได้จัดรวมเป็นชุด รวม 7 พระปริตร
นอกจากนี้ หน้าปกยังระบุข้อความที่กล่าวถึงผู้สร้างคัมภีร์ว่า “หมู(หมู่) ชุ่มทร่าง(สร้าง) ไว้ไนพระศาสนา ขอให้เป็นปัจจัยแก่พะนิพพานในอนาคตกาลโน้นเถิด”
อ้างอิงข้อมูล
ทองย้อย แสงสินชัย. (2557, 17 พฤศจิกายน). เจ็ดตำนาน. [Facebook]. สืบค้น 24 ตุลาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/pfbid0j4f1vmThf75SwKoyupdvhmHbhEDc9rENesnpWTtCjabWvytWLqFk7VQjZEtTzLEql?locale=th_TH
พระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ) คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ หมายเหตุ เอกสารโบราณฉบับนี้เนื้อหาขาดไปไม่ครบฉบับ
หน้าปลายกลับหัว
หน้าต้นเขียนด้วยดินสอเกี่ยวกับตำรายารักษาโรค เช่น ยาแก้กษัยผอมเหลือง น้ำมันริดสีดวงจมูก ยาตัดรากริดสีดวง ยาแก้ธาตุลม ยาแก้ไข้ ยาแก้เชื่อมซึม ยาแก้ฝีขึ้นคอ ยาวาโยพินาศ เป็นต้น ส่วนหน้าปลายเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินเกี่ยวกับพระสังคหวัตถุ