เอกสารโบราณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,350 รายการ (150 หน้า)

NPH001-039 เสียเคราะห์ผู้ใหญ่

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

เสียเคราะห์ คือพิธีสะเดาะเคราะห์ ซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่า อำนาจเหนือธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะบุคคลที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เนืองๆ นั้นเพราะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติกระทำ หรือถูกสิ่งที่ชั่วร้ายเข้าสิงในร่างกายทำให้บุคคลผู้นั้นทำกินไม่ขึ้นหรือไม่เจริญก้าวหน้า ฉะนั้นจำเป็นจะต้องปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ออกไป ใบลานหน้าแรกมีข้อความเขียนว่า “อันนี้แต่งแต่เด็กน้อยแลเจ้าเฮย” หมายเหตุ ใบลานมีหลายขนาด คาดว่ามาจากคนละผูก ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/39 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “เสียเคราะห์ 2 : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4847-4848.

NPH001-037 การตั้งเครื่องกริยาบูชาเคราะห์

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ใบลานมี 2 ขนาด สันนิษฐานว่าน่าจะคละจากผูกอื่นปนกัน ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/37 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-036 สู่ขวัญข้าวในเล้า

ตำราโหราศาสตร์ , ประเพณีและพิธีกรรม
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

พิธีกรรมนี้เกิดจากความเชื่อว่าเจ้าแม่โพสพตกใจขวัญหนืดอนที่ชาวนานวดข้าว ต้องใช้วัวควายย่ำฟ่อนข้าวเพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว หรือใช้ไม้พันกับฟ้อนข้าวแล้วฟาดลงไปบนลานข้าว เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ทารุณต่อขวัญข้าว ฉะนั้นจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับเมล็ดข้าว หรือเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่โพสพ และร้องขอวิงวอนให้มาอยู่คุ้มครองเมล็ดข้าวเปลือกในยุ้งข้าวต่อไป คำสู่ขวัญบางสำนวนอาจจะกล่าวถึงเทพยดา ให้ช่วยมาคุ้มครองให้ข้าวในยุ้งเพิ่มพูนทวีขึ้นก็มี การกำหนดวันพิธี ไม่เคร่งครัดนัก แต่ชาวอีสานมีความเชื่อว่า วันอาทิตย์เป็นวันเกิดของเจ้าแม่โพสพ จึงมักจะประกอบพิธีทำขวัญยุ้งข้าวหรือ บุญข้าวขึ้นเล้า ในวันอาทิตย์ ส่วนสถานที่ทำพิธีนั้นมักจะทำที่ลานหน้ายุ้งฉางหรือในฉางข้าว ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/36 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “ข้าวขึ้นเล้า, บุญ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 502-503.

BKK001-014 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , ใบลาน , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , ตำรายา , สมุนไพร , ยาแก้บิด , ยาแก้ไข้สันนิบาต

ตำรายากล่าวถึงสัดส่วนยาในการรักษาโรคต่างๆ เช่น ยาแก้ไข้เหนือ ยาแก้ไข้จุกเสียด ยาแก้ไข้สันนิบาต ยาแก้บิด ยาพ่นแก้คลั่ง ยาจุดกาฬ ยามหาคงคา ยาแก้สิงคลี เป็นต้น

BKK001-013 วรรณคดี

วรรณคดี
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , วรรณคดี , นายทอง , ขรัวสา , เณรจัน , ร้อยกรอง

วรรณคดีไม่ทราบชื่อเรื่อง ขึ้นต้นด้วยบทไหว้ครูของนายทอง และมีตัวละครชื่อ ขรัวสา และเณรจัน

BKK001-012 ตำราไสยศาสตร์และตำรายา

ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , ใบลาน , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , ยานวด , ยา , สมุนไพร , ไสยศาสตร์ , ยันต์ , นกขุม

หน้าต้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ยันต์ และคาถาต่างๆ เช่น คาถาเสกน้ำมัน คาถาเสกนกคุ้ม ฯลฯ หน้าปลายเป็นเรื่องเวชศาสตร์ เช่น การนวดสลักเพชร แก้ลมอัมพฤกษ์ ยาแก้กาฬจับหัวใจ เป็นต้น

BKK001-010 ตำรายันต์ต่างๆ

ตำราไสยศาสตร์
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , ยันต์ , คุณไสย

สมุดไทยดำ กล่าวถึง ยันต์และคาถากำกับ เช่น ยันต์แก้คุณไสย ยันต์ประจำทิศต่างๆ เป็นต้น

BKK001-008 ตำราไสยศาสตร์

ตำราไสยศาสตร์
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , ยันต์ , ไสยศาสตร์

ตำราไสยศาสตร์ กล่าวถึงคาถาต่างๆ เช่น คาถาเสกน้ำมัน คาถาเสกสีผึ้ง และภาพยันต์ หมายเหตุ หน้าปลายเขียนกลับหัว