- ภิกขุนีวิภังค์ อันแปลว่า ข้อแจกแจงอันเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี พูดง่าย ๆ ก็คือ แสดงถึงศีล 311 ข้อของนางภิกษุณี ซึ่งจะต้องสวดในที่ประชุมภิกษุณีสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์ - ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง 6 เรื่อง คือ (1) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์ (2) อายตนบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ (3) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ (4) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ (5) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอินทรีย์ (บัญญัติทั้ง 5 เรื่องนี้เป็นปรมัตถสัจ ท่านแสดงไว้เฉพาะในภาคอุทเทสเท่านั้น ไม่นำไปจำแนกรายละเอียดในภาคนิทเทส) (6) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล ซึ่งเป็นสมมติสัจ ท่านแสดงไว้ทั้งในภาคอุทเทสและภาคนิทเทส ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1287 (พ.ศ. 2368) เดือน 9 แรม 7 ค่ำ วันเสาร์ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ 4 ฉบับปิดทองล่องชาด ขอบด้านขวา 1 ฉบับทองทึบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 14 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
- คัมภีร์อภิธานหรือคัมภีร์พจนานุกรม เป็นคัมภีร์ว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่ในโลก มนุษย์ บนสวรรค์ ใต้บาดาล และอบายภูมิ ได้แก่ คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เป็นต้น - คัมภีร์อภิธานที่รวบรวมคำศัพท์ที่จารึกอยู่ในคัมภีร์ไตรเวทและคัมภีร์เวทางค์ เป็นภาษาสันสกฤต เช่น คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ ต่อมา มีการรจนาคัมภีร์อภิธานเป็นภาษาบาลีขึ้น คือ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา รวบรวมคำศัพท์ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ไว้อย่างสมบูรณ์ และมีคัมภีร์อธิบายอีกหลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา คัมภีร์อภิธานสูจิ คัมภีร์อภิธานนิสสยะ เป็นต้น ศักราช จ.ศ.1268 (พ.ศ.2449) เดือน 2 แรม 7 ค่ำ วันศุกร์ สภาพเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับ มีรอยการตัดขอบลานด้านยาว ร่องรอยว่าเป็นฉบับทองทึบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 8 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
สังคะหะ ปาฬิ อาจหมายถึง อภิธัมมัตถสังคหะ คัมภีร์ประมวลความของพระอภิธรรม เป็นตำราฝ่ายพระอภิธรรมที่ประมวลเนื้อหาจากพระสูตรและพระอภิธรรมโดยย่อ เพื่อเป็นตำราเรียนเริ่มแรกของผู้ที่สนใจเรียนรจนาขึ้น เมื่อประมาณ พ.ศ.1700 โดยพระอนุรุทธาจารย์ พระเถระชาวสิงหลแห่งมูลโสมวิหารในลังกาทวีป ศักราช จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387) เดือน 3 ขึ้น 7 ค่ำ วันอังคาร สภาพเอกสาร ใบลานฉบับล่องชาด มีผ้าห่อ ไม้ประกับ มีรอยการตัดขอบลาน รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 5 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
พระอภิธรรมเป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องปรมัตถธรรม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั่นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของจิต เจตสิก รูป เท่านั้น พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น 42000 พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ ได้แก่ คัมภีร์ธัมมสังคิณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ปุคคลปัญญัติ คัมภีร์กถาวัตถุ คัมภีร์ยมก และคัมภีร์พระมหาปัฏฐาน ศักราช จ.ศ.1285 (พ.ศ.2466) สภาพเอกสาร อยู่ในกล่องกระดาษสีฟ้า ห่อกระดาษสาบาง เย็บหัว มีห่อผ้าเย็บติดกับตัวเล่ม รหัสเอกสารเดิม LPR.735/2544 อภิธรรมปฐาน ปุคคะละปัญญัติ ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา รจนาขึ้นโดยพระพุทธโฆสเถระ(พระพุทธโฆษาจารย์) ชาวอินเดีย เมื่อ พ.ศ.956 ที่ประเทศศรีลังกา ถือเป็นพระไตรปิฏกฉบับย่อ กล่าวคือสรุปความจากพระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรม อันได้แก่ไตรสิกขา ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ศักราช จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ มีไม้ประกับ ลงรักทาชาด มีรอยการตัดขอบลาน สายผ้ามัดลวดลายอักษรพม่า รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 1 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
ปรมัตถพินทุ แปลภาษาบาลีแบบยกศัพท์เป็นภาษาพม่า ปรมัตถพินทุเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีสายกัจจายนะที่แต่งในพม่า ผลงานไวยากรณ์บาลีอีกเรื่องหนึ่งของพระเจ้าโจสะวา ศักราช จ.ศ.1203 (พ.ศ.2384) เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสาร อักษรพม่า 38 ทีมาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
กัปปิยะ หมายถึง สมควร ควรแก่สมณะบริโภค ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ กัปปิยะการก หมายถึง ผู้ที่ทำของสมควรแก่สมณะ ผู้ที่ทำหน้าจัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค ขุททสิกขา จัดอยู่ในคัมภีร์อนุฎีกา คือปกรณ์ที่พระอนุฎีกาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายคัมภีร์ฎีกาให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งอนุฎีกานี้เป็นหลักฐานชั้น 4 รองจาก พระไตรปิฎก อรรถกา และฎีกา ศักราช จ.ศ. 1241 (พ.ศ. 2422) เดือน 5 แรม 5 ค่ำ วันเสาร์ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับมีจารึก ขอบลานมีลวดลายตัดแต่ง ฉบับลานดิบ มีการร้อยใบลานหลายใบติดกันให้หนาขึ้นเพื่อทำเป็นตัวแบ่งบท มีรอยปลวกกิน รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 6 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
บันทึกว่า “นายมนและภรรยา เรือนต้นของพระมหากษัตริย์เมืองหย่องห่วย ถวายทาน” กล่าวถึง อรรถกถาที่แต่งอธิบายวินัยในส่วนของภิกษูณี กังขาวิตตรณี คือ อรรถกถาพระปาติโมกข์ เป็นคัมภีร์ที่รจนาโ้วยพระพุทธโฆสะ ข้อมูลเพิ่มเติม ศักราช จ.ศ.1204 (พ.ศ.2385) เดือน 4 แรม 9 ค่ำ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทอง รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 13 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เปลติเยร์ มอบให้
ว่าด้วยเรื่อง ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี 4 อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่า มนุษย์อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน และว่าด้วยเรื่อง ปาจิตตีย์