ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/10 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
คัมภีร์ว่าด้วยทุรวาษา 4 ประการ อาทิ มุตกิต โทสันทะฆาต ตรีสันทฆาต ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/9 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายารักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ตุ่ม ยาเลือด แก้ไข้ แก้ปวดตีน แก้ชัก แก้เป็นบ้า แก้พิษ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/7 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
อังกา มี 2 แบบ คือ อักษรไทย ก กา กิ กี กู เก โก ไก และ เลขไทย ๑๓-๑๘ สันนิษฐานว่ามาจากใบลานคนละฉบับ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/6 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้โรคฝีดาษ ยาแก้โรคซาง แก้โรคตานขโมย ยาพอกฝี ยาเขียวสรรพคุณ
หน้าต้นเป็นตำรายา กล่าวถึงโรคและสมุนไพรสำหรับรักษาโรค เช่น ยารักษาริดสีดวงงอก ประกอบด้วย ลูกกล้วย 1 อุตพิด 1 กดาดแดง 1 ก้านชา 1 พฤกษ์ 1 บดเข้าด้วยกันผสมน้ำผึ้งรวงปั้นเป็นลูกกลมขนาดเท่าลูกพุทรา กินหายแล เป็นต้น หน้าปลายเป็นเรื่องไสยศาสตร์ เช่น คาถาเรียกผู้หญิงเข้าหา คาถาสะกดศัตรู เป็นต้น
เอกสารโบราณฉบับนี้ ตอนต้นกล่าวถึงตำรายา เช่น ยาแก้ไข้ ซึ่งมีเพียงไม่กี่หน้า จากนั้นกล่าวถึงการดูลักษณะของคน วันมงคล เป็นต้น เอกสารโบราณฉบับนี้มีหลายลายมือ ทั้งลายมือแบบบรรจง ลายมือหวัด ตัวอักษรทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนลายเส้น ทั้งเส้นหมึกดำ หมึกน้ำเงิน และดินสอ
เอกสารโบราณฉบับนี้เป็นตำรายา เริ่มด้วยการกล่าวโองการมหาเถรตำแย จากนั้นกล่าวถึงตำราโรคนิทาน อาการโรคและยาสำหรับรักษาโรค โดยผู้เขียนเอกสารโบราณฉบับนี้คือ สมีเอม
หน้าต้น กล่าวถึง ตำรายารักษาโรคซาง อาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา นอกจากนี้ยังภาพวาดเป็นรูปคนและตำแหน่งของโรคอีกด้วย ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง และภาพยันต์ เช่น ยันต์กันศัตรู ยันต์กันหนู เป็นต้น