RBR_003_244-248 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 29 พระมาลัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 5 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “๏หนังสือพระมาลัย ผูก ๒ แล ฯฯะ๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มาลัย ผูก ๒” และสีน้ำเงิน “พระมาลัย ผูก ๒ แล” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “มาลัย ผูก ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังทุติยะมาลัย ผูกถ้วน ๒ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯะ๛” เสด็จแล้ว ร้อย๑๙ ปีชวด เดือน ๘ แรม ๑๔ ค่ำ วันพุธ ยามน้องเพลแล ฯฯะ๛ หนังสือวัดหนองบัว นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ขอหื้อข้าได้สำเร็จพระนิพพานแก่ข้าแด่เทอะ
RBR_003_249-251 รวมกัน ไม่มีฉลาก ทองหลุด ทองทึบ พื้นชาด,รัก หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ยอดปิตะกะ ผูกเดียว” / ระบุ “หน้าทับเค้ายอดปิฏกแล” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องยอดไตรปิฏกทั้ง ๓ ชาดกก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ที่ใดผิดนิมนต์ช่วยเขียนใส่ไว้เทอะ ทุพี่ก็ดี สามเณรก็ดี ๛ ตัวบ่งามสักหน้อยแล ะ๛”
RBR_003_249-251 รวมกัน ไม่มีฉลาก หน้าทับ เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ยอดไตปิตะกะ” และปากกาลูกลื่นสีแดง “ยอดปิตะกะ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องยอดไตรปิฏกทั้ง ๓ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล แลฯฯ ๛ แล แล แล แล แล ยอดไตรปิตกสมเร็จเสด็จแล้วแล ฯฯ ๛ รัสสภิกขุ อยู่วัดห้วยไพร ชื่อว่า พุทธสอนเขียน หื้อเป็นปัจจัยแก่เมืองแก้ว คือว่า นิพพานแด่เทอะ ฯฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต
ทานที่แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่งเพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความกรุณาสงสารบ้าง
เมตตาบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีความเมตตาต่อผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งปวง
RBR_003_249-251 รวมกัน ไม่มีฉลาก หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ตีบทั้ง ๔ ผูกเดียว” / เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “วันที่ ๑ มกราคม พศ ๒๔X๔” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ทีปทั้ง ๔ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สังขยาจาด้วยนารกก็แล้วเท่านี้ก่อนแลฯฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับเค้า มหาวงศ์ ผูกต้น แลนายเหย ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล ท่องแล้วทานแล้วตามสบับเก่าเพิ่นแล” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๑” และสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” ท้ายลานระบุ “สุชนปสาทสงฺเวคฺคตฺถายาปริจฺเจท ถ้วน ๒ ชื่อ มหามสมตฺตวงฺสปริจฺเจท ในมหาวงศ์อันแต่งเพื่อหื้อได้ประสาทะศรัทธาแล สะดุ้งหมายวัฏสงสารก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล จบแล้ววัน ๕ แก่ข้าแด่เทอะ ข้าเขือน (ควรเป็น เขียน) ตัวบ่เสมอกันแลท่านเหย นิมนต์พิจารณาดูตรงถี่ ๆ เทอะ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าทับปลาย มหาวงศ์ ผูกต้นแล ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺ ผุกต้น วัดดอนแจ่ง”
RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ศรัทธาปู่หลวงแม่ป้าเภียร สร้างไว้ค้ำชูศาสนาศาสนา” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๔ ” และสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” ท้ายลานระบุ “สาธุสุชนปสาทสํคตฺถายกต มหาวงฺสปริเจท อันถ้วน ๗ ชื่อว่า วิชยาภิเษกปริเฉท อันนี้มีใน มหาวงฺสปกรณ อันอาจารย์เจ้าหากแต่งแปลงไว้เพื่อบังเกิดปสาทแลสังเวคญาณแก่สาธุชนทั้งหลายก็สมฤทธีบรมวลควรแก่กาลธรรมเทศนาเท้านี้ก่อนแล ๚ บริบุณณา แล้วยามบ่าย ๑ โมงแล เจ้าเหย นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหตุ เม นิจฺจํ ดั่งนี้แด่เทอะ ฯะ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลายมหาวงศ์ผูกถ้วน ๔ แลเจ้าเหย ฯะ ท่องแล้วตามสบับเดิมเขาแล ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๔ วัดดอนแจ่ง”