หนังสือเจ็ดตำนาน คือบทสวดมนต์ที่คนสมัยก่อนนิยมสวดเรียกว่า "บทสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน" ซึงปัจจุบันนิยมสวดมนต์แบบทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น บทสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า "พระปริตร" แปลว่า "เครื่องคุ้มครอง" เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี บทสวดมน์เจ็ดตำนานประกอบไปด้วย 7 พระปริตร ได้แก่ มงคลปริตร รัตนปริตร เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร และอาฏานาฏิยปริตร
ภาพยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์ลงตะกรุด ยันต์พญานาคลงประเจียด โองการพระเจ้าห้าพระองค์ ยันต์พญาราชสีห์ ยันต์พระคชสีห์ ยันต์ลงไส้เทียนเป็นต้น
คัมภีร์ปฐมจินดา เป็นคัมภีร์แพทย์แผนไทยว่าด้วยโรคที่เกี่ยวกับสตรีก่อนมีบุตร ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด นอกจากนี้ยังกล่าวถึงโรคของเด็กอีกด้วย สมุดไทยเล่มนี้อักษรค่อนข้างเลือนลางไปบ้าง ในตอนต้นบอกว่าได้คัดลอกออกมาจากคัมภีร์โรคนิทาน และบอกชื่อของผู้สร้างว่า "ตำราพระปฐมจินดาของพระธรรมโมสร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 2471 " หน้าแรกเขียนไว้ว่า "ตำราพระปฐมจินดาของพระธรรมโมสร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 2471"
หน้าต้น กล่าวถึงโรค สูตรยา สัดส่วนสมุนไพรในการปรุงยา ส่วนหน้าปลายมีภาพลายเส้นเขียนยันต์
หน้าต้นเขียนด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี เรื่องเกี่ยวกับมหันตรทุก, หน้าปลายเขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เป็นเรื่องคำสอน
หน้าต้นสมุดไทยเขียนว่าเป็น "ตำราดูสารพัดทุกอันแล" ภายในเล่มเป็นเรื่องการทำวันธงไชย ตำราห่วง สภาพสมุดชำรุดมาก ฉีกขาดหลายแห่ง