เอกสารโบราณ

ภาษา : บาลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,132 รายการ (126 หน้า)

SKN001-007 พระอภิธรรม

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี

หนังสือสมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรมอญ ภาษมอญ และภาษาบาลี เรื่องเกี่ยวกับพระอภิธรรม ด้านหน้าเขียนเป็นอักษรไทยภาษาไทยว่า พระอภิธรรม ฉบับรามัญ

SKN001-002 ตำราโหราศาสตร์

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , โหราศาสตร์

หนังสือสมุดไทยขาวบันทึกเรื่องเกี่ยวกับตำราโหราศาสตร์ ด้านในมีภาพวงดวงชาตา เอกสารเขียนด้วยอักษรมอญ ภาษามอญ

SKN001-001 พระอภิธรรม

ธรรมคดี
สมุทรสาคร , วัดเจ็ดริ้ว , มอญ , อักษรมอญ

หนังสือสมุดไทยขาว หน้าปกด้านเขียนด้วยอักษรมอญว่า อภิธมฺมา ด้านในเขียนว่า สมบัติของวัดเจ็ดริ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

SKN001-031 กัมมฐาน

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ล่องชาด

ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ สมถะ เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ และวิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น (ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/กรรมฐาน)

SKN001-032 ชมพูปติสูตร

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ล่องชาด , ธรรมคดี , ชาดก

พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)

SKN001-034 เตมียะ

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี , ล่องชาด , ชาดก , เตมียราชกุมาร

เตมียราชกุมารไม่ต้องการครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ด้วยเพราะทรงเห็นพระราชบิดาลงโทษโจรด้วยความทารุณ ทำให้พระองค์ทรงระลึกถึงอดีตชาติที่พระองค์ทรงเคยเป็นพระราชาครองเมืองนี้ และได้กระทำบาปกรรมทำให้ต้องตกนรกถึงแปดหมื่นปี จึงแกล้งทำตัวเป็นใบ้ หูหนวก เป็นง่อย ไม่ว่าพระราชบิดาพระราชมารดาจะทดสอบด้วยวิธีการใด เตมียราชกุมารก็ไม่ปรากฎอาการพิรุธใดๆ จนพระชนมายุ 16 พรรษา พวกพราหมณ์ทำนายว่า เตมียราชกุมารเป็นคนกาลกิณี ให้นำไปฝังเสียที่ป่าช้า โดยมอบให้สารถีขับรถม้าบรรทุกเตมียรากุมารไปจัดการเพียงผู้เดียว ขณะที่สารถีกำลังขุดหลุมเตมียราชกุมารก็ลงจากรถและสนทนากับสารถีว่าตนไม่อยากครองราชย์แต่ประสงค์ออกบวช และได้แสดงธรรมให้สารถีฟัง สารถีเลื่อมใสจึงขออกบวชด้วย แต่เตมียกุมารไม่ยินยอม บอกให้สารถีเอารถไปคืนและแจ้งแก่พระราชบิดาและพระราชมารดาของตน เมื่อฝ่ายคนในวังรู้จึงออกไปทูลให้เตมียราชกุมารกลับไปครองเมือง แต่เตมียราชกุมารปฏิเสธและได้แสดงธรรมให้เหล่าผู้ที่มาทั้งหมดได้ฟัง เมื่อได้ฟังแล้วทำให้เกิดความเลื่อมใสจึงขอออกบวชตามเตมียราชกุมารทั้งหมด

SKN001-014 อภิธัมมัตถสังคหะ

ธรรมคดี
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , มอญ , ธรรมคดี

พระอภิธรรมมัตถสังคหะ มาจากคำว่า อภิธมฺม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐยิ่ง อตฺถ แปลว่า เนื้อความ สํ แปลว่า โดยย่อ คห แปลว่า รวบรวม เมื่อประมวลความหมายแห่งคำเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้วก็มีความหมายว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ หมายถึง จิต เจตสิก รูป นิพพาน และบัญญัติ ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์นั้นได้ รวบรวมมาแสดงโดยย่อในปกรณ์นี้ (ข้อมูลจาก https://www.thepathofpurity.com/ระอภ-ธรรม/พระอภ-ธ-มม-ตถส-งคหะ/ปร-จเฉทท-๑/)

SKN001-016 กฎหมายตราสามดวง

กฎหมาย
วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , กฎหมาย , ลักษณะผัวเมีย , เมียกลางเมือง , เมียกลางนอก , เมียกลางทาษี , ชู้ , บทลงโทษ

ว่าด้วยเรื่องความเป็นมาของกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อ “ศุภมัสดุ 1904 ศก ชวดนักษัตร เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ จันทวาร” สมเด็จพระมาราธิบดีษรีจักรพรรดิราช (ชื่อที่ปรากฏในเอกสารโบราณ) มีพระราชโองการให้ตราขึ้น ระบุถึงลักษณะโทษและกำหนดบทลงโทษของชายหรือหญิงใดที่กระทำผิด เช่น ถ้าชายใดทำชู้ด้วยเมียกลางทาษี ให้ไม่ได้พระราชกฤษฏีทำ 5 ส่วน ยักเสีย 3 ส่วน 2 หญิงอันร้ายให้เอาเฉลวแปะหน้า ทัดดอกชบาแดงทั้งสองหู ร้อยดอกชบาเป็นมาลัยใส่ศีรษะใส่คอ ให้นายฉํวงตีฆ้องนำประจาน 3 วัน เป็นต้น

NPT007-015 คัมภีร์เกร็ดพระโอสถ

ตำราเวชศาสตร์
บ้านหมอเห , ตำรายาเกร็ด , คัมภีร์เกร็ดพระโอสถ , แม่หินบด , ไข้เหนือ , สันนิบาต , ประดง , ยาต้มแก้เลือดอยู่ไฟไม่ได้ , ยาต้มปลายไข้ , ลมสันนิบาต , ยาต้มแก้เชื่อม , แก้กาฬภายใน , แก้หลังแข็ง , แก้คลั่ง , แก้ไข้ตาแดง , ยาแก้ไข้ซางแดง , ยาต้มแก้ไข้เรื้อรัง , ยาต้มตัดไข้ , ยาต้มแก้ไข้ 3 ฤดู , ยาต้มแก้ไข้ตรีกะตุก , ยาต้มแก้ฝีมดลูก , ยาต้มแก้ไข้ครั่ง , ยาต้มแก้ประดงไข้ , ยาต้มตัดรากไข้เสนียด , ยาต้มแก้สันทฆาต , ยาขับเลือดที่ติดสันหลัง , ยาต้มแก้ตานซาง , ยามหาสงคราม , ยาต้มแก้ดีเดือดดีพลุ่ง , ยาต้มแก้ไข้เหนือ , ยาต้มแก้ไข้หลังแข็ง , ยาต้มตานขโมยลงท้อง , ยาต้มกระทุ้งไข้ , ยาต้มคุดทะราดเด็ก , ยาแก้คุดทะราดผู้ใหญ่ , ยานัตถุ์แก้สันนิบาต , ยาแผ้วอากาศ , ยาเทวดาชุบตัว , อีดำอีแดง , รากสาด , ยามหากาฬ , ยาเหลืองนพรัตน์ , ยาเหน็บ , ยาดองแก้หืด , กล่อน , ยาดองแก้ริดสีดวงลงปาก , ยากระจายเขาพระสุเมรุ , ยาจักรนารายณ์ , ยาจุดฝีกาฬ , ยาต้มแก้ไข้กำเดา , ยาเทพอุดม , ยากล่อมนางนอน , ยาฝีในหู , ยาเทพนิมิต , ยากัดลูกนิ่ว , ยาเขียวปทุมคงคา , ยาต้มบำรุงและขับเลือด , ยารุพยาธิเด็กในท้อง , ยาแก้บิดครรภรักษา , ยากัดหนองฝีในท้อง , ยาต้มสุวรรณสังหาร , ลูกตายในท้อง , ยาโรคสำหรับบุรุษ , ยาต้มฝีมะคำร้อย , เข้าขอออกดอก , หนองในฝีมะม่วง , ยามะเร็งกรามช้าง , ยาธาตุบรรจบ , ยาทิพพไสยาสน์ , พระวิษณุกรรม , บรรณเมศวร , ยามหาสีสว่าง , ยาแก้ริดสีดวงจมูก , ยาแก้โป้ยซี , ยาหลวงลุงแช่ม , ยาประสะขาว , ยาประสะเกสร , ตำราพระยาหงส์ , ยาแก้สะอึก , ยาแก้ฝีมุตกิต , ฝีมดลูก , ยาทองเสมอหนัก , ยาเบญจนารายณ์ , ยาจักรนารายณ์ , ยาเหลืองแท่งทอง , ยาฝนแสนห่า , ยาเทพลำจิต , ยาไฟประลัยกัลป์ , ยาญาณไตรโลก , ยาไฟบรรลัยโลก , ยาเขียวมหาประสะ , ตำราท่านหลวงคำวัดหงษ์ , อาจพระธรณี , การถ่ายยาตามกำลังเทพจร , ยาสุมกระหม่อม , น้ำมันนวด , อัณฑะบวม , ริดสีดวงจมูก , ยามหาวิเศษโส , ยาแปรฝีร้าย , ฝีดาษ , ยาถ่ายแก้กระษัย , ยาคุมธาตุ , ยาถ่ายนารายณ์สังหาร , ยามหาไวยน้อย , ยาหอมกลาง , ยาหอมแท่งทอง , ยาต้มตัดไข็ , ยาต้มแก้แปรไข้รากสาด , ยาธาตุ , เบญจกูล , ยาสวนเด็ก , ยาธาตุบรรจบ , ยาเขียวอนันตคุณ , อุปทม , ยาต้มแก้ธาตุพิการ , ยาธาตุจำเริญอาหาร , ยาต้มแก้ตัวบวม , ยาต้มแก้ฝีมะคำร้อย , ยามะเร็งคุทราช , ยารุพยาธิ , ต้อ , ต้อแดด , ต้อนกยูง , ต้อหมอก , ต้อกระจก , ต้อเนื้อ , ต้อสลัก , ต้อลิ้นหมา , ยาเทพสังฆาต , ยาพระอินทร์ทรงขรรค์ , ยาทิพพเนตรพระอินทร์ , ยานัตถุ์ต้อ , ยาต้มตานขโมย

คัมภีร์เกร็ดพระโอสถ หรือตำรายาเกร็ด เล่มนี้ ได้บันทึกสูตรยาสมุนไพรแบบต่างๆ หลากหลายรูปแบบ มีทั้งยาต้ม ยาดอง ยานัตถุ์ ยาเหน็บ ยาสวน น้ำมันนวด ยาธาตุ ยาหอม ซึ่งสามารถแก้โรคต่างๆ ได้สารพัด ตั้งแต่โรคที่เกี่ยวกับตา โรคบุรุษ อัณฑะบวม หรือสารพัดไข้ต่างๆ คัมภีร์เกร็ดพระโอสถนี้ ประกอบไปด้วย ยาต้มแก้เลือดอยู่ไฟไม่ได้, ยาต้มปลายไข้, ลมสันนิบาต, ยาต้มแก้เชื่อม, แก้กาฬภายใน, แก้หลังแข็ง, แก้คลั่ง, แก้ไข้ตาแดง, ยาแก้ไข้ซางแดง, ยาต้มแก้ไข้เรื้อรัง, ยาต้มตัดไข้, ยาต้มแก้ไข้ 3 ฤดู, ยาต้มแก้ไข้ตรีกะตุก, ยาต้มแก้ฝีมดลูก, ยาต้มแก้ไข้ครั่ง, ยาต้มแก้ประดงไข้, ยาต้มตัดรากไข้เสนียด, ยาต้มแก้สันทฆาต, ยาขับเลือดที่ติดสันหลัง, ยาต้มแก้ตานซาง, ยามหาสงคราม, ยาต้มแก้ดีเดือดดีพลุ่ง, ยาต้มแก้ไข้เหนือ, ยาต้มแก้ไข้หลังแข็ง, ยาต้มตานขโมยลงท้อง, ยาต้มกระทุ้งไข้, ยาต้มคุดทะราดเด็ก, ยาแก้คุดทะราดผู้ใหญ่, ยานัตถุ์แก้สันนิบาต, ยาแผ้วอากาศ, ยาเทวดาชุบตัว, อีดำอีแดง, รากสาด, ยามหากาฬ, ยาเหลืองนพรัตน์, ยาเหน็บ, ยาดองแก้หืด, กล่อน, ยาดองแก้ริดสีดวงลงปาก, ยากระจายเขาพระสุเมรุ, ยาจักรนารายณ์, ยาจุดฝีกาฬ, ยาต้มแก้ไข้กำเดา, ยาเทพอุดม, ยากล่อมนางนอน, ยาฝีในหู, ยาเทพนิมิต, ยากัดลูกนิ่ว, ยาเขียวปทุมคงคา, ยาต้มบำรุงและขับเลือด, ยารุพยาธิเด็กในท้อง, ยาแก้บิดครรภรักษา, ยากัดหนองฝีในท้อง, ยาต้มสุวรรณสังหาร, ลูกตายในท้อง, ยาโรคสำหรับบุรุษ, ยาต้มฝีมะคำร้อย, เข้าขอออกดอก, หนองในฝีมะม่วง, ยามะเร็งกรามช้าง, ยาธาตุบรรจบ, ยาทิพพไสยาสน์, พระวิษณุกรรม, บรรณเมศวร, ยามหาสีสว่าง, ยาแก้ริดสีดวงจมูก, ยาแก้โป้ยซี, ยาหลวงลุงแช่ม, ยาประสะขาว, ยาประสะเกสร, ตำราพระยาหงส์, ยาแก้สะอึก, ยาแก้ฝีมุตกิต, ฝีมดลูก, ยาทองเสมอหนัก, ยาเบญจนารายณ์, ยาจักรนารายณ์, ยาเหลืองแท่งทอง, ยาฝนแสนห่า, ยาเทพลำจิต, ยาไฟประลัยกัลป์, ยาญาณไตรโลก, ยาไฟบรรลัยโลก, ยาเขียวมหาประสะ, ตำราท่านหลวงคำวัดหงษ์, อาจพระธรณี, การถ่ายยาตามกำลังเทพจร, ยาสุมกระหม่อม, น้ำมันนวด, อัณฑะบวม, ริดสีดวงจมูก, ยามหาวิเศษโส, ยาแปรฝีร้าย, ฝีดาษ, ยาถ่ายแก้กระษัย, ยาคุมธาตุ, ยาถ่ายนารายณ์สังหาร, ยามหาไวยน้อย, ยาหอมกลาง, ยาหอมแท่งทอง, ยาต้มตัดไข็, ยาต้มแก้แปรไข้รากสาด, ยาธาตุ, เบญจกูล, ยาสวนเด็ก, ยาธาตุบรรจบ, ยาเขียวอนันตคุณ, อุปทม, ยาต้มแก้ธาตุพิการ, ยาธาตุจำเริญอาหาร, ยาต้มแก้ตัวบวม, ยาต้มแก้ฝีมะคำร้อย, ยามะเร็งคุทราช, ยารุพยาธิ, ต้อ, ต้อแดด, ต้อนกยูง, ต้อหมอก, ต้อกระจก, ต้อเนื้อ, ต้อสลัก, ต้อลิ้นหมา, ยาเทพสังฆาต, ยาพระอินทร์ทรงขรรค์, ยาทิพพเนตรพระอินทร์, ยานัตถุ์ต้อ, ยาต้มตานขโมย