พระนางมัทรีทรงบรรทมแล้วพระสุบินบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหาร ครานั้นชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก
ชูชกหลอกลวงพรานเจตบุตร โดยอ้างว่ากลักพริกกลักขิงเสบียงอาหารที่นางอมิตตดาจัดเตรียมให้อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหา เดินทางถึงนครเจตราชจึงแวะเข้าประทับพักที่ศาลา พระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนววชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญวัยได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย แห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า “เวสสันดร” ในวันที่ประสูตินั้นได้มีช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า “ปัจจัยนาค” เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนมมายุ 16 พรรษา พระราชบิดาก็ยกสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี มีพระโอรสชื่อ ชาลี ราชธิดา ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวเมืองพากันโกรธเคืองจึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
ภูริทัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมานต่าง ๆ ทั้งที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ
เนมิราชกุมารได้ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงามความดี เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา
หนังสือสมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรขอมไทย เป้นภาษาบาลี เรื่อง พระอภิธรรมบริบูรณ์ ด้านหน้าปก เขียนด้วยอักษร และด้านหลังของสมุดเขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ว่า “ข้าพเจ้าจีนเอี่ยมผัวแม่พลับเมียแม่จัันผู้แม่มีสัดทาพร้อมใจกัน สร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้ทันพระศรีอริยะไม้ตรี อันจะมาตรัษในพายภากน่า ขอให้ปันญาทรงพระไตรปิดกทุกข์ ๆ ชาดให้สมความปรารถหนานี้เทิษ”
หนังสือสมุดไทยบันทึกตำราเวชศาสตร์ หรือตำรายา เขียนด้วยอักษรไทย อักษรขอมไทย ภาษาไทย และภาษาบาลี มีหลายลายมือ บันทึกตำรับยาเป็นตำรับ ๆ ไป คล้ายกับตำรายาเกร็ด