กล่าวถึงตำราแรกนา นอกจากนี้ยังมีเรื่องดำเนินพระราม, เทพจร, กามจร, นาคสมพงษ์, กรุงพาลี, ทำนายต่างๆ เช่น ทำนายหนูร้อง ทำนายแมงมุมตีอก ทำนายหนูกัดผ้า ทำนายหนูกัดตัว เป็นต้น
พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ และได้ร่ำเรียนจนจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อนที่จะมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตะเถระ จากนั้นก็พากเพียรเรียนพระไตรปิฎกจนมีความรู้แตกฉาน ก็มีความคิดที่จะแต่งอรรถกถา แต่ในตอนนั้นที่อินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฎกเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางไปที่เกาะลังกาเพื่อแปลอรรถกาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี และได้รจนาพระคัมภีร์วิสุทธิ-มรรคในขณะที่อยู่ลังกา
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลี แทรกเล็กน้อย
ในส่วนหน้าต้น กล่าวถึงเรื่องโหราศาสตร์เป็นบทประพันธุ์ร้อยกรอง เช่น
“ วันอาทิดใหนายทับนุงแดง เสีอแสงโลหิดวัดถา
วันจันนุงข้าวผองตองตำมรา วันอังคางนุงมวงชวงฉาย
วันพุทนุงชุมพูดูดี ตามหาพิไชยรุศวัดดี
เสีอสวมกายโภกเสียรตามสี เสีอสีดุจะนุงรุงเรีอง
วันพระหัดนุงสีแสดสลับ ประดับกายแกดกอนอาภอนเหลีอง
วันศุกให้นายทับประดับเครีอง วันเสานุงดำอำไพ้ย
มาขีสีตามอัถฏวอน นุงสีเมกเหลีองอลังการ
ชอบพิไชณรงรานชานสมอน ทินณกอรมกบังบนนํพา”
หน้าปลาย เรียบเรียงเป็นบทประพันธ์ร้อยแก้ว กล่าวถึงคาถาต่าง ๆ เช่น คาถาเสกขี้ผึ้ง คาถาต่อกระดูก เป็นต้น
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึง ตำราดูฤกษ์ยาม วันดีวันร้าย วันเหมาะสมที่จะกระทำกิจธุระต่าง ๆ เช่น ตำราปลูกเรือน ฤกษ์ลงเสาเข็ม การทำนายเรื่องน้ำท่าในการทำนาทำไร่ เป็นต้น