RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯฯ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๓ บริบูรณ์แล ๚” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวง” และสีแดง “ผูกที่ ๓” ท้ายลานระบุ “จาห้องสลองมหาวิหาร ๘ หมื่น ๔ พันหลังแล ราชวงศา ฯ อันจากฆา[ร] วาสไปบวชแล้วเท่านี้แล มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๓ ก็แล้ว เป็นห้อง ๑ ก่อนแล ฯ บริบุณณา ยาม ๑ ทุ่ม เดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ พร่ำได้วัน ๔ ปีวอก ยามนั้นแล ฯฯะ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๓ วัดดอนแจ่ง”
RBR_003_187-194 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 41 หงส์หิน ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับลานดิบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ 8 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ทุกขขัตติยกุมารผูกต้น ทุกขขัตติยกุมาร” เขียนอักษรธรรมด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “โหงหีน ผูกต้น” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ทุกกะขัตติยะกุมมารผูกต้น ทุกกะขัตติยะกุมมารผูกต้น” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หงหินผูก๑” ท้ายลาน ระบุ “ทุกฺขตฺติยกุมฺมารกณฺฑํ ปฐมํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าว ทุกขขตฺติยกุมาร ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแลแลแล ฯฯ๛ เสด็จแล้วเดือน ๑๐ ขึ้น ๔ วันเสาร์ ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดเถิงปิตตามารดาข้าครูบาอาจารย์ ข้าจิ่มทอน พี่อ้ายข้าจิ่ม น้องข้าจิ่มคู่คน หน้าทับเค้าหนังสือหงส์หินมีกับกัน ๓ ผูก นี้ผูกต้นแลแล้ว กุศลนาบุญตนตัวข้าขอหื้อได้หมื่นโกฏิพันโกฏิ ๖ หมื่นโกฏิ ข้าสิกข์ไปข้าขอได้เร็วๆ บ่หื้อยากใจข้าเนอ ข้าขอหื้อได้งามๆ ข้าอยา[ก]กินงามสักอิ่ม ๒ ๓ อิ่มค่าข้าว ฯฯ๛” ทูรอดอยู่บ้านดอนพีนเขียนตัวบ่ดีสักหน้อยแล / “แรม ๒ ค่ำ วันศุกร์ เดือน ๙ ปีกุน ปีกุน เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ พร่ำว่าวันศุกร์ แลนายเหย ปีชวด ปีฉลู ปีขาล ปีเถาะ ปีมะโรง ปีมะเส็ง ปีมะเมีย ปีมะแม วอก ระกา จอ กุน มีอยู่ ๑๒ กับกันนายเหย”(ตัวเอียงหมายถึง จารกลับหัว) หน้าทับปลาย เขียนอักษรธรรมด้วยดินสอดำ “ผูกต้น”
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” หน้าปกลาน “หน้าทับเค้าปทุมกุมารผูกถ้วน ๔ ปลายหมู่แลนายเหย” อักษรไทย ปากกาลูกลื่นน้ำเงินเขียนว่า “หน้าตับเก่า เล่มปายและนายเหย“ ท้ายลาน ระบุ ปทุมฺมชาตกํ นิตฺถิตํ กริยาอันกล่าวสังวรรณนาวิเศษเทศนาหอแหดปุทมชาดกก็สมเร็จสรเด็จเท่านี้ก่อนแล ๛
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ลายงู ผูกที่ ๔” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ลายงู ผูกถ้วน ๔ แล” ท้ายลาน ระบุ “อิติ ตุตฺตปกาเลน ด้วยประการดังกล่าวนี้แล นิยายลายงู ผูกถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลเจ้าเ[หย]” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ สีน้ำเงิน และดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ลายงู ผูกที่ ๓” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “นายแซ่มเรียนที ๑ แล้ว” ลานถัดหน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “หนังสือรายงู ผูก ๓” และหน้าลานอีกด้านหนึ่ง เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “นายศุกมันเรียนที ๑ แล้ว อยู่บ้านดอนขาม หมู่ที่ ๕” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “ลายงู ผูก ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายลายงู ผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จผ่านแผ้วก็จุจอดแล้ว บัวระมวลควรกาลเท่านี้ก่อนแล บริบูรณ์เสด็จแล้ววัน ๒ รัสสกภิกขุธรรมสอน เขียนลายงู บ่เป็นดีดูสักหน้อยเจ้าเหย” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “นิยายลายงู” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ลายงู ผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนานิยายลายงู ผูกถ้วน ๒ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้แล ๚ บริบูรณเสด็จแล้ววัน ๖ รัสสภิกขุธรรมสอน เขียนลายงู ๗ ผูก ยามเมื่อเดือนอ้าย” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง สีน้ำเงิน และดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” บันทึก หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ลายงู ผูกที่ ๑ มีกลับกัน ๖ ผูก” ลานแรก ด้านซ้ายมือลาน ระบุ “ลูกงู ผูกต้น ๗ ผูก” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนากล่าวเทศนานิยายลายงู ผูกต้น ก็เสด็จบอระมวลกาลควรเท่่านี้ก่อนแล จบแล้ววัน ๒ แลเจ้าเหย รัสสภิกขุธรรม (เทียบจาก RBR_003_138 ควรเป็น รัสสภิกขุธรรมสอน) เอาเอง ปางเมื่ออยู่ระคังแลข้าหา ปฐกํ ยังใบลานมาสร้างยังหนังสือลายงูมีกับด้วย ๗ ผูก ข้าก็พร้อมกับด้วยพ่อแม่พี่น้องมีใจเจตนาสร้าง ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้ว นิจฺจํ นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แด่เทอะ ข้าขอตนตัวข้าสำเร็จดังคำมักคำปรารถนาแด่เทอะ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ลายงู ผูกที่ ๕” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระลุ “ลายงู ผูกถ้วน ๕” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังสังวรรณนาจาเถิงนิยายลายงู ผูกถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จบอระมวลควรกาลเท่านี้ก่อนแล บริบูรณ์เสด็จแล้ววัน ๓ แลนายเหย” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๖ ลายงู อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ลายงู ผูกที่ ผูกที่ ๖” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวแก้ไขยังธรรมเทศนาอันกดเข้ามาในนิกายก็แล้ว กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายลายงูชาดกอันพระพุทธเจ้ายกแต่เค้ามาจุจอดรอดเถิงปลายนิยายอันผะเสริฐหื้อบังเกิดกรุณาจิตปสาทะศรัทธาก็เที่ยงว่าจักสมฤทธีดังคำมักคำปรารถนาแห่งสูท่านทั้งหลายบ่อย่าชะแล กล่าวยังนิยายลายงู ผูกถ้วน ๖ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลนายเหย” หน้าทับปลาย ระบุ “นายตุเรียนจบทีหนึ่ง อยู่บ้านดอ[น]ชาด”, “นายปุ่นมันเรียนที ๑ แล้วเมื่อมันอยู่วัดนาหนองนี้แน” มีรอยจารแก้ไขเพิ่มเติม