ตำราไสยศาสตร์ กล่าวถึงคาถาต่างๆ เช่น คาถาเสกน้ำมัน คาถาเสกสีผึ้ง และภาพยันต์ หมายเหตุ หน้าปลายเขียนกลับหัว
สมุดไทยดำฉบับนี้ กล่าวถึง คาถาต่างๆ เช่น คาถาเสกน้ำมัน คาถาเสกสีผึ้ง คาถาสะเดาะลูกในท้อง เป็นต้น หมายเหตุ หน้าปลายบางหน้าเขียนกลับหัว
สมุดไทยดำกล่าวถึง ยันต์ และคาถากำกับ เช่น เสกน้ำมัน เสกสีผึ้ง เป็นต้น หมายเหตุ หน้าปลายบางหน้ากลับหัว
สมุดไทยดำฉบับนี้กล่าวถึงตำรายาต่างๆ เช่น ยาทาแผล ยาไข้จับ ยาบำรุงเลือด ยาทาเส้น ยาแก้ตานขโมย เป็นต้น
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/70 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/69 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ป่าวเทวดา คือ คำประกาศเชิญเทวดามาชุมนุมในพิธีกรรม ซึ่งเป็นธรรมเนียมของชาวพุทธที่กระทำกิจพิธีมงคลหรือพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สะเดาะเคราะห์ เจ้าพิธี (ได้แก่ พระสงฆ์ หรือ เจ้าพิธี) จะกล่าวประกาศอัญเชิญเทพเจ้าเทวดาในสากลพิภพมาร่วมพิธีกรรมนั้นด้วย ดังที่ชาวภาคกลางจะใช้คาถาชุมนุมเทวดา ที่เรียกว่า “สัคเค กาเม จ รูเป …ฯลฯ” เมื่อประกาศเชิญเทพชุมนุมแล้วจึงเริ่มพิธีกรรมนั้น ๆ ต่อไป ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/42 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “ป่าวเทวดา, คำ : บทสวด.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2666-2668.
คำสวดกรรมวาจาจารย์ หรือคำบอกอนุศาสน์ คือ คำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาที่ให้ปฏิบัติตาม คำว่า บอกอนุศาสน์ ใช้ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระอุปัชฌาย์หรือพระเถระที่พระอุปัชฌาย์มอบหมาย บอกคำสั่งสอนหรือคำชี้แจงให้พระภิกษุที่บวชใหม่ทราบทันที ในตอนท้ายของพิธีอุปสมบท อนุศาสน์ มี 8 ข้อ แบ่งเป็นข้อที่ภิกษุควรประพฤติปฏิบัติ มี 4 ข้อ คือ ออกบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล อยู่โคนต้นไม้ และฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า. ส่วนที่พระภิกษุต้องไม่ประพฤติปฏิบัติ มี 4 ข้อ คือ เสพเมถุน ลักของผู้อื่น ฆ่าสัตว์ และพูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ทั้ง 8 ข้อนี้เรียกว่า อนุศาสน์ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/38 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง บอกอนุศาสน์ (10 พฤศจิกายน 2554) จากเว็บไซต์ http://legacy.orst.go.th/?knowledges=บอกอนุศาสน์-๑๐-พฤศจิกายน
ตำรายาฉบับนี้กล่าวถึงยารักษาโรคต่างๆ เช่น ยาลงเลือด แก้หมากไม้ แก้ไข้ เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/34 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานปนกัน คละผูก