RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินจาง “นายทองอ่านหนังสือราว(ลาว)หัวนี้ยังบ่จบเตื่อบ่ได้อย่าจบเต้” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “หน้าต้นบัวหอม ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมชาดก ยกแต่เค้าปลายเป็นนิยายอันมากมาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้ว ตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาด นักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนา ปทุม ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || เสด็จแล้ววันอาทิตย์ ยามค่ำ เดือน ๖ ออก ๖ ค่ำ ปีวอก รัสสภิกขุจันทไช เขียนหาทางงามบ่ได้ เหมือนปูยาดคันนา อย่าไปไคร่หัวขวัญข้าเทอะ ตกที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่ม ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ธุวํ ๆ ป[จฺ]จโย โหตุ เม แก่ข้าน้อยแด่เทอะ อหํ อันว่า ข้า จักปรารถนาเอาแก้วดวงเดียวเป็นที่เพิ่ง รัสสภิกขุเหลียร(เหรียญ)ได้แต้มได้เขียนหนังสือผูกนี้ ขอหื้อกุศลนาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงนางแมะข้าจิ่มเทอะ”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอม ผูก ๔ สร้างจุลศักราช ๑๑๘๖ แล ผูกนี้ สร้างในสมัย ร. ๒-๓ เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ วันพุธ ปีวอก ในฤดูฝนยามบ่าย พ.ศ. ๒๓๖๗ แล” (คำว่า “แล” ใช้อักษรธรรมล้านนา) ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกันถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบัวระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ ※ จุลศักราชได้ ๑๑๘๖ ตัว ในวอกฉนำกัมโพชกรอมพิสัย ไทยภาษาว่าปีสัน เข้ามาในอุตุฤดูฝน เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๔ ยามตูดช้าย ก็มีวันนั้นแล || ข้าเรียนเขียนใหม่บ่งามสักหน้อยแล ตกที่ใด ขอหื้อใส่เสียจิ่ม พี่ทุพี่พระเหย ขออย่าด่าข้าพร่องเทอะ ธรรมผูกนี้ชื่อว่า ปทุมบัวหอม ผูกสี่ ※ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ โวหารตนข้าชื่อว่า คันธิยะ รัสสภิขุเขียนบ่งาม ใหม่แล” หน้าทับปลาย เขียนดินสอ “หน้าทับเค้าปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๔” ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “บัวหอมผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกัณฑ์ถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จ || || บัวระมวลเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้ววัน ๒ ยามงัวตอบตีนบ้าน เดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมะแม สภศก(นพศก?) ตกเข้ามาใน สันตฤดู เมื่อบ้านเมืองเหี่ยวแห้งเต็มทีแล เจ้าเฮย ยังมีน้าฅำอ้ายกับนางสวย อยู่บ้านป่ารวก ก็อุบายขงขวายหาได้” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “พระฮอมเทศน์เมื่อกลางพรรษาที ๑ ผูกนี้”
RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ผูก ๕” ลานแรก ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีดำ “บัวหอม ผูก ๕”
RBR_003_187-194 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 41 หงส์หิน ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับลานดิบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ 8 ผูก” RBR_187-189 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “หงษ์หิน ผูก ๒” และปากกาสีแดง “หงษ์หินผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ทุกขขัติยะกุมาร ผูก ๒” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “หงส์หิน ผูก ๒” ลาน อังกา อ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หงหิน” ท้ายลาน ระบุ “ทุกฺขขตฺติย สังวรรณนา นิฏฺฐิตา กิริยาอันกล่าวเทศนายังทุกขัติยะชาดก ผูกสอง ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้วเดือนอ้าย ปีมะแม จบวันเดือนดับ วันอาทิตย์ มีศรัทธาอ้ายห[น]านเหือน(เรือน?) กับพี่นางธองอิน พร้อมกับลูกเต้าชู่คน หาใบลานมาหื้อภิกขุฅังฅะสม จารหื้ออ้ายห[น]านเหืือน(เรือน?)ไว้กับศาสนาพระโคตมเจ้า ขอหื้อกูสมนาบุญอันนี้พาไปสู่ที่ดีนี่ มีกิริยาอันใดผู้สร้างผู้จาร ขอหื้อได้บุญเท่ากัน ตัวบ่ดีสักน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ยังใบลาน รังตัวก็เท่าช้าง รังตัวก็เท่าแมว รังตัวก็ใหญ่ รังตัวก็น้อย บ่เสมอกันสักหน้อย นิมนต์ผ่อหื้อถี่เนอ ทุพี่ทุอาวเหย ว่าอยากได้บุญ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
RBR_003_187-194 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 41 หงส์หิน ผูก 1–4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับลานดิบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ 8 ผูก” RBR_187-189 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “หงษ์หิน ผูก ๓” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ทุกขขัติยะ ผูกปลาย” ท้ายลาน ระบุ “ทุกฺขขตฺติยชาฏกํ นิฏฺฐิตํ สังวรรณนาเทศนาทุกขขัติยะชาตก ผูกถ้วน ๓ ก็แล้วบัวระมวลกาลควรเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้ว ปีมะแม เดือนยี่ แรม ๙ ค่ำ วันอา๓ ยามบ่าย ๔ โมง มีอ้ายหนานเหือน(เรือน?) กับพี่นางธองอินพร้อมกับลูกชู่คน หาเอาใบลานมาหื้อภิกขุฅังฅะ จารปางเมื่อบวดได้ ๓ พรรษา เพราะว่าใคร่ได้บุญเต็มที ผู้สร้างผู้จารก็ขอหื้อได้บุญเท่ากัน ตัวบ่ดีสักน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ยังใบลาน”
RBR_003_187-194 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 41 หงส์หิน ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับลานดิบ, ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ 8 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าหงส์หินผูกปลายฉบับมาแต่เชียงไชใหม่แลนายเหย” ท้ายลาน ระบุ “ทุกฺขขตฺติยชาตกํ นิฏฺฐิตํ สังวรรณนาเทศนาทุกขขัตติยชาตกผูกถ้วน ๓ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลฯะ เสด็จแล้วยามจักใกล้ฉันเพลแลนายเหย เสด็จแล้ววันพระหัส เสด็จแล้วปีชวดแลนา ๚ รัสสภิกขุกัปปิธอง บ้านปู่ฟ้าแล้วเพิ่นมาอยู่วัดหนองบัว เพิ่นเขียนนี่ผูกนี้ไว้ค้ำชูพระศาสนาข้าเกิดมาแสน(ฉัน?)ใด ขอหื้อข้ามีสติปัญญาเสลียวสลาด ข่้าแก้เปสนาเสี้ยงชู่ไม้ชู่ตัว ขอหื้อมีใจดีเหมือนดังเจ้ามโหสถมีใจองค์[อาจ]เหมือน ๑ เจ้าเตเมแล”
RBR_003_201-211 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๗ กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๑ ผูก” RBR_202-205 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าก่ำกาดำผูกต้นแล” ลานหน้า ซ. ระบุ “ทุพี่มา อีใสเพิ่นเอาไปกินแล้ว” ท้ายลาน ระบุ “พิมฺพาสิมฺพลี ยัง วุตถมํ นิฏฺฐิตํ กิริยาสังวรรณนามพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกต้นก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล จบเท่านี้ก่อนแล รัสสภิกขุมา เขียนบ่งามสักน้อย เหมือนปูน้อยยาดคันนาแล หน้าทับปลายพิมพาขะนุ่นงิ้วนุ่งซิ่นแส้วไหมคำ หน้าปลายอ้ายก่ำกาดำแล / กอ a b c d e ส f g h I j k l M N O P หน้าทับเค้าก่ำกาดำ ผูกต้น ทุพี่มาเขียนปางเมื่ออยู่วัดดอนแจง เพราะคึดฮอดอี่ใสกับทั้งอีนาเต็มที ได้อู้กันไว้ เพิ่นเอาไปกินเสียหมดแล้ว ทุพี่มาลงนั่งไห้นอนไห้ เพราะว่า ตัวแม่ได้อู้กัน เสียอกเสียใจ ลงนั่งไห้นอนไห้ ดังXX( ) บ่ฉันข้าวได้ ๗ วัน” (อักษรที่ขีดเส้นใต้-อักษรขอมไทย) มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอดำ
RBR_003_201-211 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๗ กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๑ ผูก” RBR_202-205 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าก่ำกาดำ ผูก ๒ แลนานลอยพพฯ๛” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ก่ำกาดำแล ผูก ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาจาห้องค่าวนางพิมพาขะนุ่นงิ้วมารอดผูกถ้วน ๒ อันอาจารย์เจ้าขอดไว้เป็นโวหารตามนิทานกล่าวไว้วิสัชนาคลองไคบอกคาถา นิฏฺฐิตา ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || หน้าทับปลายก่ำกาดำ ผูก๒ แลนายเหย รัสสภิกขุมา || อย่าติข้าเนอ ลางตัวก็หน้อย ลางตัวก็ใหญ่ บ่ดีสักน้อยเหมือนแมวกอยยาคันนา หาๆ โห เหวๆ ฯ๛ ฯ๛ ออ ฯ๛”