เอกสารโบราณ

ภาษา : ไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,154 รายการ (129 หน้า)

NPT007-011 ตำราไสยศาสตร์

ตำราไสยศาสตร์
บ้านหมอเห , ไสยศาสตร์ , ตำรายา , ยันต์

หน้าต้นเริ่มด้วยบทไหว้ครู จากนั้นกล่าวถึงยาหม้อสูตรต่างๆ ซึ่งแต่ละสูตรจะมีคาถากำกับตัวยาสมุนไพรแต่ละชนิดไว้ ได้แก่ ยาหม้ออภัยษารี ยานิลรัศมี ยาหอมประทานพิษ ยามหานิลกาฬกระบือ ยารุคุณ ยาคุณพระ(ยาพอก) และยาหม้อคุณพระ หน้าปลายเริ่มต้นด้วยคาถาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ, ก ข จนจบ, คาถาอาการ ๓๒, หัวใจสัตตโพฌชงค์, หัวใจพุทธคุณ จากนั้นเป็นกล่าวถึงคาถาปิดทวารทั้ง ๙ คาถาเสกน้ำสระผม คาถาทำน้ำมนต์ป้องกันอันตราย คาถามหาเสน่ห์ภาพเขียนยันต์และคาถากำกับสำหรับทำตะกรุด และวิธีทำเบี้ยแก้ของหลวงพ่อบุญ วัดกลางบางแก้ว ซึ่งเป็นคาถาที่น่าสนใจยิ่ง

NPT004-026 ตำราดูไข้

ตำราเวชศาสตร์
นครปฐม , ตลาดน้ำ , พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน , แม่น้ำนครชัยศรี , ตำรายา , สมุนไพร

ตำราดูไข้เป็นเรื่องหลัก มีเนื้อความครบ ต้นเรื่องมีภาพแสดงจุดต่างๆบนร่างกาย แก้โรคต่างๆ เข้าใจว่าเป็นส่วนปลายของตำรานวดกดจุดที่ขาดหายไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องคาถาคงกระพัน หน้าปลายมีคาถาไสยศาสตร์

ตำรายา

NPT004-067 ตำรายารุเลือด

ตำราเวชศาสตร์
สมุนไพร , รักษาโรค , ตำรายา , ตำราเวชศาสตร์

ตำรับยาสมุนไพรหลายขนาน ยาขับหนองใน ยาแก้อุปทม ยารุเลือด ยาขับเลือด ยาแก้กาฬสิงคลี ยาแก้เลือดตีขึ้น ยาดองแก้โทษานุโทษ ยาบำรุงเลือด ยารุเลือดมิถึงระดู

NPT004-066 ตำราห่วง

ตำราโหราศาสตร์
สมุดไทยขาว , ตำราเวชศาสตร์

หน้าต้นกล่าวถึง ตำราห่วง ซึ่งวิธีนับนั้น ให้นับวันขึ้น ๑ ค่ำ เป็นต้นไป ทั้ง ๑๒ เดือน ถ้าเดือนใดวันขึ้น ๑ ค่ำเป็นอาทิตย์ นับไปตามลำดับข้างขึ้นและข้างแรม คือ ขึ้น ๑ ค่ำ (เอาเลข ๑) เป็นหลัก ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ฯลฯ ๑๕ ค่ำ และนับแรม ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ ๓ ค่ำ ๔ ค่ำ ฯลฯ ๑๕ ค่ำ (๑๔ ค่ำเดือนขาด) นับโดยวิธีนี้ไปทุก ๆ เดือน หน้าปลายเริ่มด้วยภาพวาดลายเส้นรูปนักโทษสวมขื่อจองจำ เทวดาขี่เต่า ฉัตรทอง ราหู พ่อหมอ และปราสาท จากนั้นเขียนด้วยดินสอ ลายมือหวัด กล่าวถึงสูตรยารักษาโรค การพนันชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ถั่ว และการทำนาก อ้างอิงจาก ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://horoscope.dooasia.com/phommachat/phommachath021c002.shtml)

NPT004-074 ตำราดูธาตุชายหญิง

ตำราโหราศาสตร์
โหราศาสตร์ , วัดลำพญา , วัดลำพยา

สมุดไทยฉบับนี้เป็นเรื่องโหราศาสตร์ทั้งฉบับ กล่าวถึง ชายหญิงธาตุใดอยู่ด้วยกันแล้วส่งเสริมซึ่งกันและกัน หรือธาตุใดไม่เหมาะที่จะเป็นคู่ครองกัน วันที่เป็นมงคลในการให้หยิบยืมเงิน หรือรับคืนเงิน การตัดผม การทาน้ำมัน การแรกนา วิวาหะมงคล การทำการใดๆ หน้าปลายของสมุดไทยกล่าวถึง เรื่องดำเนินพระราม เป็นบทร้อยกรอง

NPT009-002 พระสุนันทราช

ธรรมคดี
วัดท่าข้าม , นครปฐม , สามพราน , เอกสารโบราณ , ธรรมคดี

มีบันทึกไว้ว่า “พระซัวสร้างไว้ในพระศาสนาขอเป็นพระปัจจัยแก่พะรนิพพานในศาสนาพระศรีอารย์ อันจะมาตรัสในเบื้อหน้าโ้น้นเถิด นิพพานปัจโยโหตุ”

RBR003-117 อานิสงส์ผ้าป่า

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , อานิสงส์ , ผ้าป่า

หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “อานิสงส์กฐิน” หน้าทับปลาย ระบุ “สตฺถา อันว่า ว่าพระพุทธเจ้ายกยอยังอานิสงส์แห่งบุคคลทั้งหลายอันได้หื้อผ้าบังสุกุลเป็นทาน นิฏฺฐิตํ ขียาอันกล่าวห้องอานิสงส์ผ้าป่าก็แล้วเท่านี้ก่อนแล เสด็จห้องวันอัน ๑ เดือน ฯ หน้าทับเค้าอานิสงส์ผ้าป่าแลนายเหย ๚ บ่เคยสักคำเทื่อ อย่าไปเล่าขวัญข้าเนอ ๚ เพราะหามาเขียนนี้ เทื่อเดี่ยวนี้แล้วนายเหย ก็แล้วเป็นห้องเท่านี้ก่อนแล”

NPT001-021 ตำราโหราศาสตร์

ตำราโหราศาสตร์
วัดท่าพูด , นครปฐม , โหราศาสตร์

สมุดไทยฉบับนี้ กล่าวถึงตำราโหราศาสตร์ 3 ฉบับด้วยกัน คือ ตำราห่วง ตำราเทวดาให้ฤกษ์ และตำรายามอัฐกาล โดยจะกล่าวถึงวันและฤกษ์ยามในการทำการมงคล ทั้งการปลูกเรือน การสู่ขอภรรยา การเจรจาคดีความต่างๆ การไปหาสู่ผู้ใหญ่ เป็นต้น

NPT006-005 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดบางช้างเหนือ , ตำราเวชศาสตร์ , สันนิบาต , สัมประชวน , ปฐมจินดา , ประถมจินดา , การคลอดบุตร

ตอนต้นเป็นตำรายาแก้ไข้สันนิบาต และไข้สัมประชวนต่างๆ มีเรื่อง ธาตุกำเริบ ตำราเลือดท้น ต่อมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคลอดบุตร ยาลูกตายในท้อง ยาแก้ประสูติลูก แก้อยู่ไฟไม่ได้ ยาแก้ออกลูกเลือดมิตก แก้เลือดตีขึ้น เป็นต้น ตอนท้ายเป็นคติความเชื่อเรื่องผู้หญิงมีครรภ์แต่ละเดือน การเสกแป้งเพื่อใช้คลึงครรภ์ การปั้นหุ่นรูปคนไปไว้ตามทิศต่างๆ