ตอนต้นเป็นเรื่องพระอภิธรรม เขียนด้วยอักษรขอมไทย ต่อมาเป็นตารางการดูฤกษ์ต่างๆ ทางโหราศาสตร์
กล่าวถึงตำรายาโรคริดสีดวง และคาถาหัวใจพระเจ้าต่างๆ เขียนเป็นภาษาบาลีสำเนียงมอญ
หน้าต้นเป็นเรื่องตำรายา ตอนท้ายเป็นบทสวดภาบาลี, หน้าปลายเป็นเรื่องโองการขับไล่ผี
มีเรื่องย่อยๆ ได้แก่ ตำราปลูกเรือน, ตำรานาคสมพงษ์, เทพจร, ตำรายาตรา, ตำราปลูกต้นไม้มงคล, สมพงษ์หญิงชาย, สมพงษ์ธาตุ เป็นต้น
เรื่องย่อยหลายเรื่อง เช่น คาถาร่ายให้คงกระพัน, หัวใจกระสัตรี, หัวใจบุรุษ, คาถากล่อมหัวใจ, คาถาคุมขวัญ, ยาถอนคุณ, ยาอุทัย
โรคนิทาน แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า โกมารภัจแพทย์ เป็นผู้แต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกล่าวยกย่องโกมารภัจในฐานะเป็นครูทางการแพทย์ไทยคนหนึ่ง (อ้างอิงจาก : บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่นๆ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หน้า 569.
ในตอนต้นเขียนเกี่ยวกับเรื่องการทำเครื่องรางของขลังต่างๆ พร้อมคาถาอาคมที่ใช้ท่องเสกกำกับเครื่องรางของขลังนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคาถาภาษาบาลีที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเช่น พุทฺโธเมตตา ธมฺโมกรุณา สงฺโฆเอ็นดู นโมรักใคร่ เป็นต้น นอกจากที่ยังมีภาพยันต์ต่างๆ ที่นำไปเขียนบนผ้าหรือกระดาษเพื่อประกอบการทำเครื่องรางของขลังเช่น ตระกรุด ด้ายมงคลต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องรางที่ใช้ป้องกันภัยอันตรายทั้งมวลที่น่าสนใจคือ ยันต์มงกุฏพระเจ้า ที่ใช้ประกอบกับผ้าประเจียด ซึ่งยันต์นี้ได้ระบุว่าเป็นของ หลวงพ่อแก้ว วัดท่าพูด ต่อมาเป็นเรื่องการทำขวัญข้าว เนื้อหากล่าวถึงกำเนิดพระแม่โพสพ แต่ไม่จบเรื่อง สุดท้ายมีสูตรยาสมุนไพรอีก ๒ อย่างคือ ยาเครื่อง และยาดอง
ตำราโหราศาสตร์ต่างๆ เช่น ตำราห่วง เทพจรประจำกาย ตำรากรุงพาลี เป็นต้น
ตำราโหราศาสตร์เล่มนี้กล่าวถึงเรื่อง เทพจรประจำกาย ดูฤกษ์วันต่างๆ วันอมฤตโชค วันสิทธิโชค วันมหาสิทธิโชค เรื่องกรุงพาลีการตั้งศาลพระภูมิ ตำราดูนาควัน ตำราดูปลวกขึ้นเรือน