ใบลานฉบับนี้เป็นใบลานขนาดสั้น บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย อังกาเป็นอักษรไทย (ก-ฃ) เนื้อหาอยู่ในหมวดเวชศาสตร์ เป็นตำราเกี่ยวกับการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ตานซาง แม่ซางประจำเดือนต่าง ๆ เป็นต้น
หน้าปกใบลาน จารว่า “คำภีประชูมแพรดทั้งแปด กองทูนกล่าวถว้ายให้พระบอรมมะจักกะพัด ฯะ” เนื้อหากล่าวถึงตำรายาทั้ง 42 ตำราและกระสายยา เช่น ยาต้มแก้ไข้อหิวาตกโรค ยาต้มแก้ริดสีดวง ยาพอก ยาตานขโมย ยาแก้ลงแดง ยาแก้รกไม่ออก เป็นต้น
เนื้อหาเกี่ยวกับโรคและสมุนไพรรักษาโรค เช่น ยาแก้เลือดแก้ลมอัมพาต น้ำมันมนต์ ยากระสาย ยาหอม ยาขาวชโลม ยาเลือด ยาเขียว ยาเหลือง ยามหาไว ยากวาดจิตกระอุดมมหาธานี ยามหาระงับแก้อหิวาตกโรค ยาต้มแก้ไข้เมาล้าง ยาเขียวธนทสังคะ ยาทาท้องเด็กอ่อน ยาสั่ง ยาซาง ยาริดสีดวง ยาธาตุเด็ก เป็นต้น
หน้าปกใบลานจารว่า “ตำราทำนายวันดีวันร้าย หากจะทำการสิ่งใดใหพึงระวังไว้”
หน้าปกใบลาน จารว่า “ ข้าฯ ผู้ชื่อว่าจานถ่ว้ายเสร็จ || ตำราผู้กนีดู ลักคณหญิงชั่วดีอยูในนีสิ้นแลฯ”
หน้าปกใบลาน จารว่า “ตาบรับพกนีเปนยากระไสยทองมารกระไสยกลอนท้ัง ๕ ประการนะทารเอ่ย ตำราคุนทองอะยุงนีโนศุกคังพลัง ฯ” เอกสารโบราณเป็นลานขนาดสั้น เขียนด้วยอักษรไทย และอังกาเป็นอักษรไทย ได้แก่ ก กา ก กิ กี กึ กื กุ กู แก
หน้าปกใบลานจารว่า “ใน้คำภีนี้หว่าด้วยใน้กาพสัพะคูนยาแต่ภอเปนสังสะวันพะสุกขะมะระเท่านี้เอง ฯะ” ความน่าสนใจของใบลานฉบับนี้คือ อังกาเป็นเลขไทย (1-16) และเนื้อหาเขียนบนเส้นบรรทัด
เนื้อเรื่องของ อานิสงส์สังขยาธรรม ในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมหวัดนั้น กล่าวถึงเรื่อง “พรหมชาลสูตร” พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ส่วนเนื้อเรื่องในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมไทยบรรจง กล่าวถึงเรื่อง อานิสงส์สังขยาธรรม หรืออานิสงส์การสังคายนาพระไตรปิฎก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานแก่พระอริยะสงฆ์ทั้ง 500 จัดตั้งการสังคายนา
มีบันทึกไว้ว่า “พระซัวสร้างไว้ในพระศาสนาขอเป็นพระปัจจัยแก่พะรนิพพานในศาสนาพระศรีอารย์ อันจะมาตรัสในเบื้อหน้าโ้น้นเถิด นิพพานปัจโยโหตุ”