RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด ขึ้น ๗ ค่ำ วัน ๕ บ่าย ๓ โมง แล ๚ ยังมีศรัทธาอาวชายธอง ก็พร้อมกับด้วยภริยาผู้ชื่อว่า นางธิดา กับลูกเต้าพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแล เจ้ายังอุบายหาได้ยังโปตฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอนแล ผู้สร้างกับผู้เขียน ข้าขอหื้อได้บุญเท่ากันแด่เทอะ เขียนบ่ดีสักน้อย รางตัวก็เท่านิ้วก้อย รางตัวก็เท่าแม่มือ พี่ทุองค์ใดก็ดี พี่พระองค์ใดก็ดี หรือครหัสถ์แลนักบวชได้เล่าได้เรียนได้อ่าน อดส่าห์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันว่าผ่อบ่ถี่ ก็บ่รู้แล เพราะว่าตัวบ่ดี เจ็บแอวเต็มที นั่งเขียนบ่ได้ นั่งเขียนพร่อง นอนเขียนพร่องแล หน้าทับเค้า เจ้าจันทฆาต ผูกถ้วน ๒ หน้าทับปลาย จันทฆาต มีกับกัน ๔ ผูก ทั้งมวลแล ทุอาวเหย กา ก้า กล้า ขา ข้า ขล้า มา ม้า มล้า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ก ข ค ฅ ง จ ส ช ซ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ล ร ว สฺส ห ฬ อํ อฺย ป ฝ ฟ หฺม หฺน หฺย หฺว หฺง หฺล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๒๐๒ ๑๐๗ ๕๐๐๐ ๓๐๐๐๐๐” (อักษรตัวเอียงสะกดด้วยอักขรวิธีพิเศษ)
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “จันทคาดผูกที่ ๑” หน้าหลังเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูกต้น” / ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกต้น มีกับกัน ๔ ผูก แลเจ้า” ท้ายลาน ระบุ “มังคละวิวาห กิริยาอันกล่าวจาเถิงยังจันทฆาต ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ ข้าเขียนหนังสือผูกนี้บ่ดีบ่งาม ใหม่แลท่านเจ้าองค์ใดได้เล่าได้เรียนได้เทศนา นิมนต์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันผ่อบ่ถี่ก็บ่รู้จักตัวแล เหมือนไก่เขี่ยหัวมองนั้นแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าข้าแด่เทอะ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด เดือน ๗ ออก ๔ ค่ำ วัน ๖ ยามแล้งงัวความต้อมตีนบ้านแลเจ้าเหยนายเหย ตนตัวข้าขอสุข ๓ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ ขอหื้อสติผญาปัญญาเหลี้ยมแซวเสลียวสลาดอาจชู่บทแท้ดีหลีแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” ลานที่สอง ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “จันทฆาตจันทฆาต” ท้ายลาน ระบุ “จนฺทฆาฏกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ผูกถ้วน ๕ ก็บังคมสมเร็จเสด็จเท่า[นี้]ก่อนแล บอระมวลวรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล้วแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีแดงและดินสอดำ
ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อมหาวิบาก เป็นคัมภีร์ที่นิยมใช้เทศน์โปรดผู้ป่วยหนักเชื่อว่าหากได้ “ฟังธัมม์” กัณฑ์นี้แล้ว ผู้ป่วยนั้นถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็จะตายโดยสงบ เรื่องย่อมีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนา ความว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีเศรษฐีคนหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถี มีทรัพย์สมบัติถึง 80 โกฏิ แต่เขาเป็นคนที่ขี้เหนียวมาก ไม่ยอมใช้เงินซื้ออาหารดีๆ มากิน กินปลายข้าวด้มทุกวัน เสื้อผ้าก็ใส่เสื้อผ้าที่ทอด้วยป่าน เวลาจะเดินทางไปที่ใดก็จะนั่งเกวียนเก่าๆ ไม่ยอมทำบุญทำทาน เพราะกลัวว่าทรัพย์สมบัติที่มีอยู่จะหมดไป ต่อมาไม่นานเศรษฐีก็ป่วยตาย หลังจากเศรษฐีตาย พระยาปเสนทิโกสละกษัตริย์ผู้ครองเมือง จึงได้สั่งให้ทหารไปขนทรัพย์สมบัติของเศรษฐีมาไว้ยังท้องพระคลังเพราะเศรษฐีไม่มีผู้สืบสกุล ซึ่งใช้เวลาถึง 7 วันจึงขนทรัพย์สมบัติมาไว้ในท้องพระคลังได้หมดวันต่อมาพระยาปเสนทิโกสละก็ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า และทรงเล่าเรื่องราวของเศรษฐีให้พระพุทธเจ้าฟัง แล้วทรงทูลถามว่าเหตุใดเศรษฐีจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติมากมายที่ตนเองมีได้ และทำไมเศรษฐีจึงไม่มีผู้สืบสกุล พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงธรรมเทศนาถึงกรรมเก่าของเศรษฐีว่า ในชาติก่อนเศรษฐีเป็นกุฎมพีคนหนึ่งอยู่ในเมืองพาราณสีเขาเป็นคนไม่ชอบทำบุญทำทาน วันหนึ่งมีพระมาบิณฑบาตเขาก็ได้ตะโกนบอกคนทั้งหลายว่า มีพระมาบิณฑบาต ใครอยากทำบุญก็ให้รีบมา จากนั้นเขาก็มุ่งหน้าเข้าป่าไปไม่ได้สนใจที่จะทำบุญ เมียของนายกุฎมพีเป็นคนชอบทำบุญจึงได้จัดหาอาหารมาใส่บาตร นายกุฎมพีกลับมาเห็นเมียใส่บาตรจึงเกิดความเสียดายอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ชาตินี้เขาจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติที่ตนเองมีได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่มีผู้สืบสกุลเพราะได้ฆ่าลูกชายของพี่ชายตัวเองที่ไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่าตาย เพราะกลัวหลานจะแย่งทรัพย์สมบัติที่เคยเป็นของพ่อคืนเพราะก่อนออกบวชพี่ชายได้ยกทรัพย์สมบัติให้เขาหมดแล้ว แต่จากกุศลที่กุกุมพีได้ตะโกนให้ผู้คนรู้ว่ามีพระมาบิณฑบาดจึงส่งผลให้เมื่อตายไปก็ไปจุดิบนสวรรค์ถึง 7 ชาติ จากนั้นก็มาเกิดเป็นเศรษฐีอยู่เมืองสาวัตถี แต่บุญของเศรษฐีก็หมดในชาตินี้แล้ว “มหาวิบาก (คัมภีร์).” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 10. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 5061-5061.
มาติกา หมายถึงพระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป (ข้อมูลอ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/มาติกา)
ตำรายา กล่าวถึง ยาแก้ไข้ แก้ปวดท้อง แก้ลม ผิดสำแดง แก้ลิ้นกระด้าง แก้คลั่ง แก้สันนิบาต ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/11 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแขน ยาชุม และมีการเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินว่า พ่อแพทย์ ช่วงบุปผา คาดว่าจะเป็นเจ้าของเอกสารโบราณ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/13 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรากล่าวถึง กัมมจอรผู้หญิง, เป็นฝีตามเดือน, ยาจอด ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่าเอกสารโบราณฉบับนี้อังกามีหลายแบบ คาดว่านำใบลานจากหลายผูกมารวมกัน ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/15 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาทั้งมวล กล่าวถึงตำรายาหลายอย่าง อาทิ ยาแก้ไข้, ตีนเย็น อีกทั้งยังระบุว่าผู้สร้างเอกสารโบราณคือ ท่านบุปผา ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/12 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา