เอกสารโบราณ

เส้นตัวอักษร : จาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ (98 หน้า)

NPH001-021 ตำรายาและเป่า

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาและเป่า อาทิ ยาแก้พิษร้อน พิษขึ้นคัน ซางแดง เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/21 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-020 ตำรายาแก้ไข้

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาแก้ไข้ อาทิ แก้ร้อนท้อง จับไข้ ตีนเย็นมือเย็น ไข้ปวดตา ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/20 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-019 ตำรายาแก้ไข้

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

ตำรายาแก้ไข้ อาทิ ยาแก้ออกดำออกแดง, แก้คัน, แก้ไข้, ยาเลือด ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/19 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

NPH001-016 ตำรายาแก้ไข้

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , ตำรายา

ตำรายาแก้ไข้ อาทิ ยาแก้ไข้ปวดหัว, ไข้ออกตุ่ม, ไข้ป่วง ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/16 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

SKN001-121 ชมพูปติสูตร

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , ชมพูปติสูตร

พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)

RBR003-199 จันทฆาต ผูกปลาย(ผูก 4)

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , จันทฆาต

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น “จันทคาตผูกที่ ๔ ผูกปลาย มีกับกัน ๔ ผูก” ด้านหลังหน้าทับต้น เขียนคำอาราธนาศีลอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปานา อะทินนากรรม มุสา สุรา อิมานิ ปันจะ สิกขา ปทานิ สีเรนะ สุคคะติง ยันติ สีเรนะ โพคะสัมปทา สีเลนนิพุตึ ยันติ ตสัมา ลีลํ วิโสธะเย” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูก ๔ ทั้งมวลมี ๔ ผูกแลเจ้าเหย” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้วยามเพลแล้วพอดีแลเจ้าเหย || เดือน ๘ ศีลแล ปีชวดแล ๛ ยังมีศรัทธาทุพี่หลวงกับปิตตามารดาพี่น้องชู่ผู้ชู่คน ก็หาโปฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอน บวชอยู่วัดหนองนา หาตัวแม่บ่ได้ หาทางใดก็บ่มีแลเจ้าเหย นายเหย ๛ ทุพี่หลวง[เ]พิ่นก็ยังมีผู้ดีปูนตีตูนแท้แล ผู้สร้างกับผู้เขียนขอหื้อได้บุญถึงกันแด่เทอะ||” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “กล่าวจันทฆาต ผูกสี่ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “พระภิกษุได้ พระภิกษุได้เทศน์ที ๑ แล้วXXXXX” / เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูก ๔” และปากกาน้ำเงิน “ผูก ๔” มีรอยแก้ไขด้วยปากาสีน้ำเงิน

SKN001-120 จันทคาด ผูก 5

วรรณคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , วรรณคดี , จันทคาด , ผูก 5

จันทคาดเป็นวรรณกรรมชาดกที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นเรื่องแพร่หลายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิตเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับภาคอีสาน และฉบับภาคใต้” ซึ่งเป็นการนำเรื่อง จันทฆาต ทั้งสี่ภาค สี่สำนวนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะในความเป็นท้องถิ่นของตัวเอง

RBR003-198 จันทฆาต ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , จันทฆาต

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแลท่านเหย || บริบูรณ์เสด็จแล้ววัน ๑ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีชวด โทศก ร้อยสิบ ๙ แล้วข้าก็ยังมีศรัทธาพร้อมกับด้วยปิตตามาดาพี่น้องญาติกาวงศาชู่ผู้ชู่คน ขอหื้อสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ข้าขอเอาอายุใบลานเป็นที่เพิ่งแด่เทอะ รัสสภิกขุธรรมสอน เขียนปางเมื่อ(อยู่-เขียนด้วยดินสอดำ)วัดนาหนองแล หนังสือเจ้าจันทฆาต มี ๔ ผูกกับกันแล” และหน้าทับปลาย(เศษลานทำมาใช้เป็นหน้าทับ) ระบุ “แต่ไกลดังอั้นเจ้าก็หนีเข้าไปสู่ป่าหาการตนหั้นแล คันว่านางมารอดเรือนแล้วดังอั้นย่าบริสุทธิ์ก็จิ่งกล่าวเซิ่งนางผ้าขาวว่า ตาต ดูรา เจ้าลูกรักแก่แม่ อันว่า ชายผู้มาจอดเรือนรานี้” และ เขียนอักษรไทยและอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ภิขุธรรมะเสนาอยู่วัดนาหนองฯ”, “ธมฺมเสนาฯ” และ “กล่าวจันทฆาต ผูกสอง ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล”(ตัวเอียง-อักษรธรรมล้านนา)

RBR003-197 จันทฆาต ผูก 3

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , จันทฆาต

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากลูกลื่นสีแดง “จันทะคาดผูกที่ ๒” หน้ารองหน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๓” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทฆาตผูกถ้วน ๓” ด้านหลังเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาต ผูกถ้วน ๓ ก็เสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วแลนายเหย ๚ ปีชวด โทศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๗ ยามบ่ายแลนายเหย || ยังมีศรัทธาอาวชายธองกับทั้งภรรยา ชื่อว่า นางธิดา ก็พร้อมกันกับลูกเต้าชายหญิง ขอหื้อ[เ]พิ่น ได้สุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ || ตนตัวผู้สร้างอยู่บ้านดอนกอก ก็ว่าหื้อท่าน หร เขียนบ่แพ้ ก็เอาแภแห้วมาหื้อคุณสุวัณระซรX เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองนาหนองมองทองแก้วกว้าง ตนผู้บ้านกอกดอนมีนามกร ชื่อว่า ธอง แดงดา เหย ๑ ผู้ข้าน้อยหน้อยเป็นผู้เขียน ข้าขอสุข ๓ ประการผญาปัญญาเสลียวสลาดเสมอกันแด่เทอะ อกข้าตายเป็นดีอาย เจ้าของพื้นแท้หนอน้อยนอนายน้องเหย รางตัวเท่าช้าง รางตัวเท่าแมว แอวก็เจ็บ ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด ทุพี่พระพี่ก็ดี ได้เล่าได้เรียนตกที่ใด นิมนต์ใส่หื้อจิ่มเนอ อย่าไปด้าข้อยเนอ โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ เป็นดีอายพื้นแท้หนอ เป็นดังไก่เขี่ยหญ้า ปูหน้อยยาดคันนา อย่าบ่เขียนก็เขียน ทุคือ โห่ บ่ได้เป็นดี ใคร่ไห้แท้เด อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ แด่เทอะนาย” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำและปากกาเมจิกสีน้ำเงิน