หน้าปกใบลาน จารว่า “ ข้าฯ ผู้ชื่อว่าจานถ่ว้ายเสร็จ || ตำราผู้กนีดู ลักคณหญิงชั่วดีอยูในนีสิ้นแลฯ”
หน้าปกใบลาน จารว่า “ตาบรับพกนีเปนยากระไสยทองมารกระไสยกลอนท้ัง ๕ ประการนะทารเอ่ย ตำราคุนทองอะยุงนีโนศุกคังพลัง ฯ” เอกสารโบราณเป็นลานขนาดสั้น เขียนด้วยอักษรไทย และอังกาเป็นอักษรไทย ได้แก่ ก กา ก กิ กี กึ กื กุ กู แก
หน้าปกใบลานจารว่า “ใน้คำภีนี้หว่าด้วยใน้กาพสัพะคูนยาแต่ภอเปนสังสะวันพะสุกขะมะระเท่านี้เอง ฯะ” ความน่าสนใจของใบลานฉบับนี้คือ อังกาเป็นเลขไทย (1-16) และเนื้อหาเขียนบนเส้นบรรทัด
เนื้อเรื่องของ อานิสงส์สังขยาธรรม ในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมหวัดนั้น กล่าวถึงเรื่อง “พรหมชาลสูตร” พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ส่วนเนื้อเรื่องในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมไทยบรรจง กล่าวถึงเรื่อง อานิสงส์สังขยาธรรม หรืออานิสงส์การสังคายนาพระไตรปิฎก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานแก่พระอริยะสงฆ์ทั้ง 500 จัดตั้งการสังคายนา
มีบันทึกไว้ว่า “พระซัวสร้างไว้ในพระศาสนาขอเป็นพระปัจจัยแก่พะรนิพพานในศาสนาพระศรีอารย์ อันจะมาตรัสในเบื้อหน้าโ้น้นเถิด นิพพานปัจโยโหตุ”
หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “อานิสงส์กฐิน” หน้าทับปลาย ระบุ “สตฺถา อันว่า ว่าพระพุทธเจ้ายกยอยังอานิสงส์แห่งบุคคลทั้งหลายอันได้หื้อผ้าบังสุกุลเป็นทาน นิฏฺฐิตํ ขียาอันกล่าวห้องอานิสงส์ผ้าป่าก็แล้วเท่านี้ก่อนแล เสด็จห้องวันอัน ๑ เดือน ฯ หน้าทับเค้าอานิสงส์ผ้าป่าแลนายเหย ๚ บ่เคยสักคำเทื่อ อย่าไปเล่าขวัญข้าเนอ ๚ เพราะหามาเขียนนี้ เทื่อเดี่ยวนี้แล้วนายเหย ก็แล้วเป็นห้องเท่านี้ก่อนแล”
บันทึก หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “หมูเถื่อน” ลานแรกด้านซ้ายมือ “หมูเถือง(ควรเป็น หมูเถื่อน?)ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “มหาตุณฺฑิลชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันพรรณนาสักเสริญยังชาติปางเมื่อพระพุทธเจ้าเกิดเป็นหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ชื่อว่า มหาตุณฑิละ ชาตกอันนี้อันถ้วน ๓ มีในศก ๕๐๐ ชาติ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ||๛||| เสด็จแล วันจันทร์ก่อนเพล เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ พร่ำว่าได้ วันจันทร์แลนายเหย ||๛๛ หน้าทับเค้าหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ผูกเดียวแลนายเหย ข้าขอสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ แล้วข้าขอกุสลานาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงบิดามารดาข้า พ่อแม่พี่น้อง XXX ครูบาอาจารย์แก่แด่เทอะ รัสสภิกขุขาว กะลังหัดเขียนใหม่ บ่ดี ทุพี่พระพี่ได้เล่าได้เรียน อย่าไปด่าหีแม่ข้าเทอะ อยากใคร่ได้บุญเต็มที สร้างธรรมผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้าตราบต่อเท่าเข้าสู่พระ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ เป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
อานิสงส์สร้างระฆังฉบับนี้กล่าวถึง พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยการยกนิทานขึ้นมาเล่าให้แก่พุทธบริษัทได้ฟัง ความว่า อดีตกาลนั้นนานมาแล้ว พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงแสดงธรรมว่าด้วยเรื่องอานิสงส์ของการสร้างระฆัง เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อบุรุษเข็ญใจผู้หนึ่งที่พึ่งพาพระภิกษุและขออาหารประทังชีวิตมาตลอด ได้พบมหาโจรกลุ่มหนึ่งหมายเอาชีวิต เขาต้องการเอาตัวรอดจึงพาโจรไปยังอารามของพระภิกษุและสามเณรเพื่อให้โจรฆ่าพระภิกษุแทนตัวเอง เมื่อไปถึงไม่พบใครจึงตีระฆัง เหล่าพระภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่ได้ยินเสียงระฆังจึงปรากฏตัว สามเณรวัย ๗ ปี ชื่อ สํกิจจํ อาสาเสียสละตนเองเพื่อช่วยชีวิตคนที่เหลือ แต่ความอัศจรรย์เกิดขึ้นจังหวะที่ดาบฟาดลงที่คอดาบก็แตกหักกระจัดกระจาย เหล่าโจรเห็นดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใสจึงปวารณาตนของบวช และหมั่นเพียรฝึกกรรมฐาน เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะระฆังจึงเป็นปฐมเหตุ เสียงระฆังเป็นเสียงมงคล และเป็นที่ตั้งของพุทธศาสนา ผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างระฆัง ผู้นั้นจะมีอานิสงส์มาก มีเสียงอันไพเราะ และเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป ครั้นสิ้นชีวิตจะได้ไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยสมบัติอันมาก และมีเสียงไพเราะกว่าเทวดาทั้งปวง ครั้นได้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะมีชีวิตสุขสบาย ทรัพย์สมบัติมหาศาล
อานิสงส์สร้างดอกเผิ้งหรืออานิสงส์ดอกเทียน กล่าวถึงบุญกุศลที่ได้จากการสร้างปราสาทที่ทำจากเทียนแล้วปั้นแต่งเป็นรูปดอกไม้ตกแต่งปราสาทผึ้ง (ดอกไม้ที่ทำจากเทียน เรียก ดอกผึ้ง ดอกเผิ้ง หรือดอกเทียน) เพื่อความสวยงามปราณีต ซึ่งการสร้างปราสาทผึ้งนิยมกระทำในช่วงออกพรรษา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับ ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวอีสาน