เอกสารโบราณ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : คอลเลกชั่นพิเศษของ ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ (5 หน้า)

SAC001-025 อิติปิโส (คำอธิบาย) 10 เล่มรวม

ธรรมคดี
ใบลาน , พม่า , บาลี , อนาโตล , ธรรมคดี , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

คำอธิบายพระคาถาอิติปิโส คาถาร้อยกรองภาษาบาลี บรรยายคุณความดีของพระพุทธเจ้า ความยิ่งใหญ่ของพระธรรมวินัย และความดีงามของพระสงฆ์ ซึ่งอธิบายคาถาภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. ? (พ.ศ. ?) สภาพของเอกสาร ลานขาดไปหลายหน้า มีไม้ประกับแกะลาย ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 27 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ บันทึกอื่น ๆ ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน

SAC001-022 สติปัฏฐาน นิสสยะ

ธรรมคดี
อนาโตล , อักษรพม่า , ใบลาน , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งเแปลยกศํพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1226 (พ.ศ. 2407) เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ วันจันทร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 23 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-021 วินะยะมหาวา (บาลี) 2 เล่ม รวม และธัมมะปะทะ อัฏฐะกะถา นิสสยะ

ธรรมคดี
อนาโตล , พม่า , บาลี , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

พระวินัยปิฏก ภาษาบาลี และอรรถกถาธรรมบท ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า สภาพของเอกสาร แตกผูกมารวมกัน สามารถแยกได้ประมาณ 7 เรื่อง มีไม้ประกับ มีผ้าห่อ ฉบับลงรักปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 22 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-010 สารัตถะทีปนี ฎีกา

ธรรมคดี
อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , พม่า , บาลี

“สารัตถทีปนีฎีกา” เป็นคัมภีร์ที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับ 3 รองจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา เรียกกันว่า “ฎีกาพระวินัย” อธิบายความในคัมภีร์อาทิกัมม์ และอรรถกถาพระอาทิกัมม์ ที่ชื่อสมันตปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก พระสารีบุตรเถระแห่งเกาะลังกา เป็นผู้รจนาในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ 1 (พ.ศ. 696 - 1729) สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ มีไม้ประกับ ไม้ประกับมีจารึก มีรอยตัดขอบลานด้านยาว เห็นร่องรอยว่าเป็นฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 11 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้

SAC001-017 วินะยะ (นิสสยะ)

ธรรมคดี
อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ใบลาน , พม่า

ว่าด้วยเรื่อง พระวินัย แปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1202 (พ.ศ. 2383) เดือนอ้าย ขึ้น 1 ค่ำ วันเสาร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 18 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-018 ปะริวา (มหาวา) และ จูฬวา (บาลี) นิสสยะ

ธรรมคดี
อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ใบลาน , พม่า

คัมภีร์ปริวาร คือคัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย อยู่ในพระวินัยปิฎก แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น 5 คัมภีร์เหมือนกัน คือ 1. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 2. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 3. มหาวรรค 4. จุลวรรค 5. ปริวาร ศักราช จ.ศ. 1223 (พ.ศ. 2404) เดือน 12 ขึ้น 12 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทอง รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 19 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-019 จุฬวา อัฏฐะกะถา ปาฬิ

ธรรมคดี
อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ใบลาน , พม่า

คัมภีร์ปริวาร คือคัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย อยู่ในพระวินัยปิฎก แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น 5 คัมภีร์เหมือนกัน คือ 1. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 2. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 3. มหาวรรค 4. จุลวรรค 5. ปริวาร ศักราช จ.ศ. 1242 (พ.ศ. 2423) เดือน 4 แรม 9 ค่ำ วันอังคาร สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลานดิบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 20 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-006 ธัมมะปะทะ อัฏฐะกะถา นิสสยะ

ธรรมคดี
อนาโตล , ใบลาน , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , อักษรพม่า

“ธรรมบท” เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนาซึ่งได้รับความนิยมอ่านทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกายซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี -“ธัมมปทัฏฐกถา” เป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา คือรองลงมาจากพระไตรปิฎก ฉบับเดิมเป็นภาษาสิงหลอยู่ในประเทศลังกา ต่อมาได้มีพระเถระชาวอินเดียรูปหนึ่ง ชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ แปลมาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี โดยปรับปรุงจากต้นฉบับ อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาสแล้วแต่สถานการณ์จำเพาะที่บังเกิดขึ้นในพระชนม์และในสังฆมณฑล ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนานพระพุทธประวัติ -อธิบายขยายความของธรรมบท ในการแต่ง พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายคาถาธรรมบทแต่ละคาถา และนำนิทานมาประกอบเพื่อสนับสนุนคาถานั้นๆ นิทานทุกเรื่องที่นำมาเป็นนิทัศนอุทาหรณ์ เป็นนิทาน “อิงหลักธรรมทั้งสิ้น” ศักราช จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เดือน 5 แรม 5 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ มีไม้ประกับ ถูกตัดขอบลานออก มีร่องรอยว่าเป็นฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 7 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-016 ปาราชิกัง อัฏฐะกะถา

ธรรมคดี
อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ใบลาน , พม่า , ธรรมคดี

ว่าด้วยเรื่อง ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี 4 อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่า มนุษย์อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ศักราช จ.ศ. 1211 (พ.ศ. 2392) เดือน 2 ขึ้น 1 ค่ำ วันศุกร์ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 17 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้