เอกสารโบราณ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : คอลเลกชั่นพิเศษของ ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ (5 หน้า)

SAC001-040 จินตมณีรัตน

ธรรมคดี
อนาโตล , พม่า , บาลี , ไทใหญ่ , ธรรมคดี , พับสา

ฉลากระบุว่า “บาลีอักษรพม่า คำแปลและภาษาไทใหญ่” สภาพของเอกสาร ห่อพลาสติกใส หน้าปกและขอบทาสีแดง ขาดส่วนหน้าต้นไป รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 37 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-038 อภิธรรม

ธรรมคดี
อนาโตล , พับสา , ไทใหญ่ , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ในหน้ารองสุดท้ายของพับสา ระบุว่า “ข้าพเจ้าพระกาซเรอยู่บ้านเมืองฅอน เป็นผู้เขียนธรรมไว้กับศาสนาพระเจ้า” ศักราช จ.ศ. 1285 (พ.ศ. 2466) สภาพของเอกสาร ห่อกระดาษสาบาง ปกและขอบพับทาสีแดง เขียนด้วยหมึกสีดำ รหัสเอกสารเดิม LPR. 733/2544 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-008 วินัยมะหาวา ปาฬิ นิสสยะ

ธรรมคดี
อนาโตล , ใบลาน , พม่า , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ศักราช จ.ศ. 1195 (พ.ศ. 2376) เดือนอ้าย ขึ้น 10 ค่ำ วันพฤหัสบดี สภาพเอกสาร มีมีผ้าห่อและไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 9 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้

SAC001-033-001 วิสุทธิมัคค์ นิสสยะ เล่ม 1

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; - พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. 956 เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก - ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา 2 บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ - พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป - พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า เล่ม 1 (ก – จาะ) ศักราช จ.ศ.1135 (พ.ศ. 2316) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ วันพฤหัสบดี สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ, ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 35 บันทึกอื่น ๆ ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 15 ใบ รวมทั้งหมด 219 ใบ”

SAC001-033-002 วิสุทธิมัคค์ นิสสยะ เล่ม 2

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; - พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. 956 เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก - ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา 2 บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ - พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป - พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า เล่ม 2 (ฉ – ฐาะ) ศักราช จ.ศ.1135 (พ.ศ. 2316) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ วันพฤหัสบดี สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ, ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 35 บันทึกอื่น ๆ ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 15 ใบ รวมทั้งหมด 219 ใบ”

SAC001-030 เวสสันตะระ ชาตะกะ (นิสสยะ)

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

เวสสันตรชาดก พระชาติสุดท้าย ในทศชาติชาดก ว่าด้วย พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1229 (พ.ศ. 2410) เดือน 12 แรม 6 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 32 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก

SAC001-029 มโหสถา ชาตะกะ นิสสยะ

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

มโหสถชาดก พระชาติที่ 5 ใน ทศชาติชาดก ว่าด้วย พระมโหสถบัณฑิตทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1267 (พ.ศ. 2448) เดือน 2 ขึ้น 12 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 31 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน

SAC001-027 อนุโมทนาลังการะ (พระธรรมพระเจดีย์ 4 องค์)

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ว่าด้วยเรื่อง การอนุโมทนาในการสร้างพระธรรมเจดีย์ ศักราช จ.ศ. 1215 (พ.ศ. 2396) เดือน 9 ขึ้น 8 ค่ำ วันศุกร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงชาด ลานไม่ครบ ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 29 บันทึกอื่น ๆ ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน

SAC001-026 นาม นิสสยะ 11 เล่มรวม

ธรรมคดี
ใบลาน , พม่า , บาลี , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ว่าด้วยเรื่อง นาม แปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ;นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ 4 นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป หรืออาจเป็นเรื่องบาลีไวยากรณ์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 28