กัณฑ์ที่ 6 คือกัณฑ์จุลพน ว่าด้วยการเดินทางครึ่งแรกของชูชกเพื่อไปหาพระเวสสันดร ชูชกโดนหมาของพรานเจตบุตรไล่จนต้องขึ้นไปหลบบนต้นไม้ หน้าสุดท้ายเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินว่า “วันอาตมาภาพได้แสดงธรรมเทศนา เรื่องราวพระพุทธเจ้า เวสสันดร ในกัณฑ์ 6 นี้ อาตมาก็ได้ทรงแสดงให้พวกอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายฟังมาตั้งแต่เบื้องต้นจนตลอดอวสาน ณ บัดนั้น ก็พอสมควรแก่เวลาแล้ว เอวํ ด้วยประการฉะนี้ แล”
บุญหรืออานิสงส์ที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สู่หนทางเจริญต่อไป
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืน ตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต
คัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค)จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก ส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย
สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้เมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่างๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสีชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนู ด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็น มาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสาม ขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ