หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาสีน้ำเงิน “หนังสือสืบจะตาบ้านเมือง” หน้ารอง เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “นายเธิง” ท้ายลาน ระบุ “สฬากริวิชฺชาสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ กริยาสังวรรณนาอันแก้ไขยังสฬากริวิชชาสูตร อันมีในทิพมนต์ผูกเดียว ก็สมเร็จเสด็จบรมวลควรแก้ไขในกาลเท่านี้ก่อนแล ฯ ฯ ๛ นายเหย ฯ”
หน้าต้น จารเป็นอักษรไทย ระบุ “หนังสีือจักกัณวุตติปาปะสูตรว่าเรื่องรักษาศีล” ลานแรก หัวลาน ระบุ “จักกัณ[วุ]ตติปาปสูต ผูกโทน” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยัง จกฺกณวุตฺติปาปสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้ว ı3ı จุลศักราชได้ ๑๒๖๑ ปีกุน เอกศก เดือน ๖ เหนือ เดือน ๔ ใต้ วันจันทร์แล”, “ผู้ข้าได้สร้างหนังสือจักกณวุตติปาปสูตร นี้ไว้ในศาสนาพระโคตมเจ้า ผู้ข้าขอกุศลส่วนบุญอันเกิดด้วยอันข้าได้สร้างเขียนธรรม จุ่งผู้ข้าชื่อหนานวัฒนะ บิตตามาดาญาติกากับลูกเมียข้า หื้อได้เถิง ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ นิจฺจํ ธุวํ ๆ” เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สร้างพ.ศ. ๒๔๔๒ ปีกุน สมัย ร.๕”
RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถทีปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๙ บริบูรณ์และ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน และดินสอ “ผูก ๙” ท้ายลาน ระบุ “โวหารมังคลทีปนี ผูกถ้วน ๙ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนและ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๙ แล คล่องแล้ว”
RBR_003_362 อยู่ใน “เลขที่ ๕๘ อิสสิสิง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ๒ ผูก” ลานแรก หัวลาน ระบุ “อิสสีสิง ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังอิสสีสิง ผูกโทน ก็บรมวลแก่กาลเท่านี้ก่อนแลนา ı๏ı บริบูรณ์เสด็จแล้วยาวเมื่อเช้า เดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ วันอาทิตย์แลนายเหย ยังมีทุพี่เหือนเอาใบลานมาหื้อรัสสภิกขุสมบูรณ์ อยู่วัดนาหนองแลนายเหย เขียนบ่ดีสักหน้อย ใจบ่ดี สติบ่ตั้งแลนายเหย นิมนต์ค่อยพิจารณาหื้อถี่เทอะ อย่าไปแช่งด่าผมเนอ ทุพี่เหย ขอบุญสมภาร ผู้สร้างผู้เขียนขอหื้อได้อย่างคำนึกคำปรารถนา ขอหื้อได้บุญหลายๆ แลนายเหย ที่ผู้สร้างผู้เขียนญาติการพี่น้อง ขอบุญหื้อได้เท่ากันแลนายเหย ı มีศรัทธาหนานจันทา อยู่บ้านดอนชาด สร้างไว้ในพระศาสนา ๕ พันพระวัสสา นปจฺจโย โหตุ เม สา ๆ ธุ ๆ ıı แล ๛” หน้าปลาย เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อิสสีสิง”
หน้าต้น ระบุ “๚ พุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๓ แล นายเอ๋ย ” (ตัวเอียงจารอักษรไทย) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “๓” ลานแรก หัวลาน ระบุ “พุทธโฆสเถร ıı ผูก ๓ แล ıı” ท้ายลาน ระบุ “พุทฺธโฆสเถร นิฏฺฐิตํ กริยา อั[น]สังวรรณนายังพุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จบัวระมวลควรกาลเท่านี้แล ฯ๛”
RBR_003_327 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หนังสือธาตุตะโคงเกสา ๘ เส้นแลนา ฯ ข้าผู้เขียนชื่อว่า สีวีสุทโธ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ธาตุตะกุ้ง / เกศา ๘ เส้น ผูกเดียว” หน้ารอง หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หนังสือหัวนี้ดี เจือเตอะนาตุ๊ปี้ตุ๊น้อง / หนังสือหัวนี้ดีมาถ้าใครอ่านให้จำให้แม่นนะคุณ / ıı วัดแคทรายโพธิศัทธาราม ıı” ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังนิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตระโคง ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ข้าขอนิพพานเป็นยอด เขาะขอด ฯ เสี้ยงกิเลสตัณหาแลนา ฯ ฯ ฯ ๛” / หน้าปลาย เขียนอักษรธรรมล้านนา ด้วยดินสอ “ลานคุณเฟือ ลานคุณเฟือ”
RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกด้วยกันแลเจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๕”และสีน้ำเงิน “มหาวงค์” ท้ายลาน ระบุ “สุชนปสาทสงฺเวคตฺถายก มหาวงฺเส ปริจฺเจท อันถ้วน ๑๑ ชื่อ เทวานํ ปิยติสฺสภิเสกปริจฺเจท อันมีในมหาวงศ์อันอาจารย์เจ้าแต่งแปลง เพื่อหื้อบังเกิดยังประสาทะศรัทธาแล บังเกิดสังเวคญาณ สะดุ้งตกใจกลัวในวัฏสงสารแห่ง[โส]ตุชนทั้งหลายก็บรมวลด้วยประการดั่งกล่าวมาเท่านี้ก่อนแล ๚ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหตุ เม นิจฺจํ ดั่งนี้แก่ข้าแด่เทอะ ๛” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกแล เจ้าเหย คล่องแล้ว คล่องแล้ว แล้ว แล” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๕ วัดดอนแจ่ง”
RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หนังสือมโหสถ ผูกหนึ่งแล มีสิบผูกกับกันแลนายเหย อย่าไปหื้อพรากเสียกันเนอ ฯฯ๛ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูกต้น ตัวบ่มนสักน้อย ค่อยพิจารณาดูเทอะ ที่ผิดก็มี ที่ถูกก็มี บ่ดีไหนหลาย อย่าไปเสียใจเนอ เจ้าใบลานชู่คนเหย ๚ ๚ ๚ ๚ ๚ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐” / เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “๑” และปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะโหสด ผูก ๑” ท้ายลาน ระบุ “ปริจเฉทธรรมเทศนามโหสถบัณฑิตอันเป็นปฐมผูกต้น อันพิจารณาถ้อยคำโจรลักงัวเป็นเค้า ตราบต่อเท่าเถิงโตรลักเมีย ก็สมเร็จเสด็จบรมวลเท่านี้ก่อนแล ๚ ๚ รัสสภิกขุธอง เขียนปางเมื่อพื้น (เพิ่น-เพื่อน?) อยู่วัดหนองบักดอแล เสด็จแล้วเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พร่ำว่าเป็นวันเสาร์แล ๚ ข้าเขียนหนังสือมโหสถผูกนี้ ข้าขอกุศลนาบุญแผ่ผายไปรอดไปถึงปิตตามารดาข้าจิ่มเทอะ ครูบาอาจารย์กับทั้งเจ้าใบลานพื้น (เพิ่น-เพื่อน?) ชู่ผู้ชู่คนเทอะ ขอหื้อได้เหมือนกันชู่คนแด่เนอ อย่าไปด่าข้าเนอ ลางเทื่อก็ตามืด ลางเทื่อก็ตาดำ ลางเทื่อก็เจ็บหลัง ลางเทื่อก็เจ็บแอว เ[เ]สนเทื่อก็นั่ง เ[เ]สนเทื่อก็นอน เดิกออนซอนมาจะดาปุนอี้ ฟ้าปันหมอนเท่ามืดมัวฟันมาเป็นทุกบ้านเล่า ไกลกันยากแท้เด ปูนอี้ผีเหยผีสังบ่ตีแผ่นดินหื้อไหลหลิ่งค้อย หื้อบ้านค้อยไหลชูนายพร่องเด นายเจ้าแม่ผู้เดียวเหย ๚ ๛ ข้ าผู้เขียนนี้อย่า ปรารถนาเล่าเกิดมาชาติใดแสนใด(ฉันใด)ขอหื้อมีสติปัญญาสลาดอาจรู้ คู่เยื่องพันอันนั้นเนอ เพราะว่าลำบากเหลือห[ล]าย สายสุดใจแม่คันนาถ้วนสมกระบวนนายธานี ๚ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ ใบลานครูบาอาจารย์เหย อย่าไปด่าข้าเนอ จบแล้ว”
RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถทีปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า มังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบ ๑ ปริปุณณา บ่าย ๓ โมงเย็น แล คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ผูก ๑๑” ท้ายลาน ระบุ “โวหารธรรมเทศนามังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบเอ็ด ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนและ บริบูรณ์แล้ว ยามบ่าย ๓ โมงเย็น เจ้าข้า นิจฺจํ ธุวํ แก่ข้า พร่องแด่เทอะ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ นิพฺพานํ ดั่งนี้แท้และ หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าทับปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบ ๑ และ คล่องแล้ว”