คอลเลกชั่นพิเศษของ ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์ เอกสารโบราณเหล่านี้ ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ ได้มอบไว้ให้กับคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ และทางคุณหญิงเองจึงได้มอบให้กับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นเวลานานหลายปีแล้วที่เอกสารโบราณเหล่านี้นอนนิ่งอยู่ในกล่อง ยังไม่มีการทำทะเบียนเอกสารฯ และทำสำเนาดิจิทัลมาก่อน
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทยเล็งเห็นว่า เอกสารเหล่านี้มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์พุทธศาสนา และการศึกษาไวยกรณ์ภาษาบาลี การศึกษาอักขรวิธีอักษรพม่า เนื่องจากคัมภีร์เหล่านี้ได้บันทึกด้วยตัวอักษรและภาษาบาลีที่ใช้ในช่วงยุคสมัยนั้น เมื่อนำมาทำสำเนาดิจิทัลแล้วให้บริการกับผู้ที่สนใจศึกษาคัมภีร์เหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อวงการการศึกษาพุทธศาสนาไม่น้อย
วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; - พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. 956 เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก - ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา 2 บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ - พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป - พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า เล่ม 3 (ฑ – ทาะ) ศักราช จ.ศ.1135 (พ.ศ. 2316) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ วันพฤหัสบดี สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ, ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 35 บันทึกอื่น ๆ ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 15 ใบ รวมทั้งหมด 219 ใบ”
สิทธิบาฬิ อาจเป็นบาลีไวยกรณ์ ศักราช จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เดือน 5 ขึ้น 7 ค่ำ สภาพของเอกสาร แตกผูกมารวมกัน สามารถแยกได้ประมาณ 5 เรื่อง มีไม้ประกับ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 25 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ บันทึกอื่น ๆ ลานชุดที่ 3 น่าจะเป็นชุดเดียวกันกับ คัมภีร์อักษรพม่า 29 อะนุโมทะนา ลังการะ (พระธรรมพระเจดีย์ 4 องค์) เนื่องจากมีรูปอักษรตรงกัน ประกอบกับมีลำดับอังกาต่อเนื่องกัน ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 58 ใบ รวมทั้งหมด 180 ใบ”
ว่าด้วยเรื่อง การอนุโมทนาในการสร้างพระธรรมเจดีย์ ศักราช จ.ศ. 1215 (พ.ศ. 2396) เดือน 9 ขึ้น 8 ค่ำ วันศุกร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงชาด ลานไม่ครบ ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 29 บันทึกอื่น ๆ ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน
ว่าด้วยเรื่อง ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี 4 อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่า มนุษย์อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน ศักราช จ.ศ. 1211 (พ.ศ. 2392) เดือน 2 ขึ้น 1 ค่ำ วันศุกร์ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 17 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้