วัดเจ็ดริ้ว ตั้งอยู่ในตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ริมคลองเจ็ดริ้ว ในอดีตประชาชนจะใช้ทางนำเป็นทางสัญจรไปมา ปัจจุบันมีถนนสายบ้านแพ้ว-วัดคลองตัน ผ่าน วัดนี้เป็นศูนย์รวมประเพณีชาวรามัญ ปัจจุบันได้อนุรักษ์ประเพณีการสวดมนต์ทำนองรามัญ
คำว่า “เจ็ดริ้ว” มีที่มาที่ไปพอจะสืบค้นจากเอกสารอื่นๆ ได้ว่า มาจากเรื่องเล่าว่า ในอดีตกาลนานมาแล้ว มีอยู่วันหนึ่งชาวบ้านในพื้นที่ได้ไปหาปลาและได้ปลามามากมาย ที่เหลือจากทำอาหารรับประทาน ก็ได้นำมาทำเป็นปลาเค็มไว้ เล่ากันว่าปลาช่อนตัวหนึ่ง ตัวโตมากเมื่อผ่าออกแล้วทำเป็นริ้ว ๆ เพื่อสะดวกในการทาเกลือและทำให้แห้งเร็ว ปรากฎว่านับได้ถึงเจ็ดริ้ว ตั้งแต่นั้นพื้นที่บริเวณนี้ จึงถูกขนานนามว่า “เจ็ดริ้ว” ซึ่งเนื้อหาทำนองนี้นั้นคล้ายกับคำว่า “แปดริ้ว” ของชาวฉะเชิงเทรา
วัดเจ็ดริ้ว แต่เดิมตั้งอยู่บนที่ดอน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2480 ชาวเจ็ดริ้วได้ร่วมมือ กับทางราชการขุดคลองขึ้นตามแนวร่องน้ำซึ่งมีอยู่เดิม เพื่อสะดวกในการสัญจรไปมา และขุดผ่านหน้าวัดพอดี คลองนี้มีความยาว 8 กิโลเมตรเศษ โดยขุดตัดกับคลอง ดำเนินสะดวกไปทะลุคลองจีนดา จึงทำให้มองเห็นสภาพของวัดเจ็ดริ้ว ตั้งอยู่ริมคลอง ฝั่งตะวันตก ปัจจุบัน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวนเนื้อที่ 98 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา วัดนี้ตั้งขึ้นประมาณเกือบร้อยปีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่า “วัดรามัญวงศ์วราราม” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “วัดเจ็ดริ้วรามัญวงศ์” และ ในปัจจุบันนี้ชื่อว่า “วัดเจ็ดริ้ว”
วัดเจ็ดริ้ว สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2436 โดยมีชาวเจ็ดริ้วเชื้อสายรามัญคือ กำนันไกร บ้านพาดหมอน ผู้ใหญ่อินทร์ ทองชิว กำนันตู้ บ้านดอนครุฑ นายยก ร้อยอำแพง นายเจริญ ร้อยอำแพง นายชู มอญใต้ นายเลาะ พึ่งบ้านเกาะ นายถึก ไวยาวัจกร พร้อมด้วยประชาชนได้ร่วมกันปรึกษาหารือ จะสร้างวัดไว้ประจำหมู่บ้าน เพราะวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา เป็นสถานที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษา เป็นสถานที่บำเพ็ญบุญให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เป็นจุดรวมน้ำใจคนในหมู่บ้าน จึงได้กำหนดเอาวันอาทิตย์ซึ่งเป็น วันธงชัยเป็นวันยก เสาเอก ตามภาษิตที่ว่า “สร้างวัดวันอาทิตย์ สุขตามติดทุกวันไป มีโชคเพราะธงชัย แสนเปรมปรีดิ์ในอาราม”
การดำเนินการก่อสร้างวัด และในระยะแรกการก่อสร้างใช้วัสดุพื้นบ้าน เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่ต้องซื้อจากร้านค้าบ้างลักษณะกุฏิหรือวัดแต่เดิมนั้น ใช้โครงไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้อง สร้างขึ้นไล่เลี่ยกันถึง 3 หลัง และหอฉันอีกหนึ่งหลัง
------------------------------------
อ้างอิง
ข้อมูลจาก http://jedriew.freevar.com/Jedriew%๒๐temmple.htm
เตมียราชกุมารไม่ต้องการครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ด้วยเพราะทรงเห็นพระราชบิดาลงโทษโจรด้วยความทารุณ ทำให้พระองค์ทรงระลึกถึงอดีตชาติที่พระองค์ทรงเคยเป็นพระราชาครองเมืองนี้ และได้กระทำบาปกรรมทำให้ต้องตกนรกถึงแปดหมื่นปี จึงแกล้งทำตัวเป็นใบ้ หูหนวก เป็นง่อย ไม่ว่าพระราชบิดาพระราชมารดาจะทดสอบด้วยวิธีการใด เตมียราชกุมารก็ไม่ปรากฎอาการพิรุธใดๆ จนพระชนมายุ 16 พรรษา พวกพราหมณ์ทำนายว่า เตมียราชกุมารเป็นคนกาลกิณี ให้นำไปฝังเสียที่ป่าช้า โดยมอบให้สารถีขับรถม้าบรรทุกเตมียรากุมารไปจัดการเพียงผู้เดียว ขณะที่สารถีกำลังขุดหลุมเตมียราชกุมารก็ลงจากรถและสนทนากับสารถีว่าตนไม่อยากครองราชย์แต่ประสงค์ออกบวช และได้แสดงธรรมให้สารถีฟัง สารถีเลื่อมใสจึงขออกบวชด้วย แต่เตมียกุมารไม่ยินยอม บอกให้สารถีเอารถไปคืนและแจ้งแก่พระราชบิดาและพระราชมารดาของตน เมื่อฝ่ายคนในวังรู้จึงออกไปทูลให้เตมียราชกุมารกลับไปครองเมือง แต่เตมียราชกุมารปฏิเสธและได้แสดงธรรมให้เหล่าผู้ที่มาทั้งหมดได้ฟัง เมื่อได้ฟังแล้วทำให้เกิดความเลื่อมใสจึงขอออกบวชตามเตมียราชกุมารทั้งหมด
สมุดไทยขาวฉบับนี้ มี 2 ลายมือแยกออกได้ชัดเจน ประกอบด้วย ภาพตำแหน่งฝีแต่ละชนิดบนร่างกายคน รูปร่างลักษณะของฝีต่างๆ และตำรับยาแก้ฝีต่างๆ เหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งแผนปล่อยปลิงอีกด้วย