วรรณคดีเรื่องนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เตภูมิกถา ไตรภูมิกถา ไตรภูมิวินิจฉยกถา ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ไตรโลกวินิจฉยกถา และไตรภูมิฉบับหลวง เป็นต้น ปัจจุบันในวงการวรรณคดีเรียกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา เพื่อให้ต่างจากไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ช่วงเวลาที่มีการแต่งไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาขึ้นนั้นยังไม่พบไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ทั้งสองฉบับมีเนื้อความคล้ายกัน แต่ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามีความละเอียดมากกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามุ่งจะอธิบายพระพุทธคุณในส่วนที่ได้ชื่อว่า “โลกวิทู” ซึ่งหมายถึงการรู้โลกของพระพุทธองค์ ได้แก่ สังขารโลก สัตตโลก และโอกาสโลก โดยแสดงละเอียดเฉพาะส่วนที่เรียกว่า โอกาสโลก ซึ่งได้แก่แผ่นดิน จักรวาลเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกทั้งปวง รวมถึงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์เนื้อความของไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา แบ่งออกเป็น 8 ภาค คือ โอกาสวินาสโลกกถา โอกาสสัณฐาหนโลกกถา นิริยโลกกถา เปตโลกกถา ติรัจฉานโลกกถา มนุสสโลกกถา เทวโลกกถา พรหมโลกกถา สภาพเอกสารชำรุดมากเหลือเพียงเล็กน้อยในส่วนที่เป็นภาพวาดเท่านั้น
คาถาหัวใจ หรือ หัวใจพระคาถา เป็นบทย่อของพระคาถาซึ่งถอดออกมาเป็นคำสั้น ๆ เพื่อให้จดจำได้รวดเร็วแต่ยังคงความหมายและความศักดิ์สิทธิ์ไว้เช่นเดิม คาถาหัวใจที่ปรากฏในสมุดไทย อาทิ หัวใจพระมหาชนก หัวใจพระเพชร หัวใจพระสุวรรณสาม หัวใจตรีนิสิงเห หัวใจพระเตมีย์ หัวใจงู หัวใจคน เป็นต้น นอกจากคาถาที่กล่าวถึงไปแล้วนั้น ยังมีคาถาหัวใจที่กล่าวถึงนอกเหนือจากคาถาหัวใจ 108 อีกด้วย เช่น หัวใจนภา หัวใจมงคล เป็นต้น การตั้งพิธีตีแถลงหรือแสลงก็ได้ ผู้ปริวรรตเข้าใจว่าเป็นพิธีที่ตั้งขึ้นเพื่อปัดพิษร้าย คุณไสยต่างๆ ให้ออกจากจากร่างกายของคน และโองการมหาเถรตำแย
หน้าสุดท้าย เขียนด้วยลายมือปัจจุบัน ความว่า “ตำรานี้เป็นตำราเก่าของปู่ย่าตายายของตระกูล...(ตัวอักษรถูกขีดทับ) เท่า ซึ่งประจำอยู่วัดเทียนดัด อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งทางวัดได้รวบรวมไว้จากกุฏิเก่าแก่ในวัดเทียนดัด 18 กรกฎาคม 2511”
สมุดไทยดําเรื่อง “ตําราปักขคณนา” ฉบับนี้เป็นตําราการคํานวณปฏิทินทางจันทรคติที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงคิดค้นและนิพนธ์ขึ้น ปักขคณนา คือการนับปักษ์๒ หรือนับวันในรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้น ข้างแรม ซึ่งเป็นวิธีการนับปักษ์ที่มีความแม่นยําสูงมาก เนื่องจากปฏิทินจันทรคติฆราวาส หรือปฏิทินจันทรคติราชการมักจะมี ความคลาดเคลื่อนได้ภายในปี ไม่ว่าจะกําหนดอย่างไรก็ตาม การกําหนดนั้นทําได้อย่างมากคือ คลาดเคลื่อนน้อยที่สุดภายในปี ดังนั้นพระองค์จึงมีพระบรมราชานุญาตให้นําการคํานวณปักขคณนานั้นไปใช้ทําปฏิทินพระทุกปี แทนที่ปฏิทินฆราวาส
สมุดไทยฉบับนี้บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย สภาพเอกสารไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายหายไป และขาดแหว่งบางส่วน เนื้อหากล่าวถึงตำรายารักษาโรคต่าง ๆ เช่น ยาสว่างอารมณ์น้อย ยาสว่างอารมณ์ใหญ่ ยาลมบ้าหมู ยาลมกล่อน ยาแก้กาฬ เป็นต้น
สมุดไทยขาวเขียนด้วยอักษรขอมไทยเป็นภาษาบาลี คาถาต่างๆ ดังนี้ พระอภิธรรม พระหัสนัย์ พระวินัย พระสูตร มหาโมคคัลานเถรโพชฌงค์ มหาจุนทะเถรโพชฌงค์ พระกิริยานันทสูตร พระมหาสมัย ในตอนท้ายได้ระบุชื่อคนทำคัมภีร์ว่าชื่อ “พูน” โดยบอกว่าจัดทำขึ้นเพื่อทดแทนพระคุณบิดา มารดา และพระคุณผัวที่ได้รักษาตัวเอง ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า “พูน” เป็นสตรี และในอดีตสตรีจะไม่ได้รับการสอนให้เขียนหนังสือ ดังนั้น “พูน” น่าจะเป็นศรัทธาว่าจ้างให้คนเขียนคัมภีร์นี้ขึ้นมาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาทดแทนคุณบิดา มารดา และสามี
ตำรายาสูตรต่างๆ เช่น ยาแก้สันนิบาต ไข้ลากสาด ไข้ฝีดาษ เป็นต้น ในหน้าปลายกล่าวถึงคัมภีร์อาไภยสาลี
สูตรยาแก้คันประโดง ยาต้มแก้คุดทะราด ยามหานิลใหญ่ ยาปรอทแก้คุดทะราดมะเร็ง ยาจักรนารายณ์ใหญ่
วรรณกรรมเรื่อง พระสี่เสาร์ หรือพระสี่เสาร์กลอนสวดนี้ มีที่มาจากชาดกนอกนิบาตคือ ปัญญาสชาดก โดยนำเนื้อ เรื่องจาก “สิโสรชาดก” มาแต่งเป็นวรรณกรรมกลอนสวด ชาดกในปัญญาสชาดกถือว่ามีอิทธิพลในการสร้างสรรค์งาน วรรณกรรมร้อยกรองของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น เรื่องสมุทรโฆษ เรื่องพระรถเสน เรื่องพระสุธน เป็นต้น สำหรับ เรื่องพระสี่เสาร์นี้ หมื่นพรหมสมพัตสร(มี) กวีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกล่าวถึงใน “นิราศเดือน” ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว