เอกสารโบราณ

ภาษา : พม่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ (4 หน้า)

SAC001-013 ภิกขุนีวิภังค์ ปุคคละปัญญัติ นิสสยะ และธัมมะวิโสธะนี

ธรรมคดี
อนาโตล , ใบลาน , พม่า , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

- ภิกขุนีวิภังค์ อันแปลว่า ข้อแจกแจงอันเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี พูดง่าย ๆ ก็คือ แสดงถึงศีล 311 ข้อของนางภิกษุณี ซึ่งจะต้องสวดในที่ประชุมภิกษุณีสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์ - ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง 6 เรื่อง คือ (1) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์ (2) อายตนบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ (3) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ (4) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ (5) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติเรื่องอินทรีย์ (บัญญัติทั้ง 5 เรื่องนี้เป็นปรมัตถสัจ ท่านแสดงไว้เฉพาะในภาคอุทเทสเท่านั้น ไม่นำไปจำแนกรายละเอียดในภาคนิทเทส) (6) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล ซึ่งเป็นสมมติสัจ ท่านแสดงไว้ทั้งในภาคอุทเทสและภาคนิทเทส ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1287 (พ.ศ. 2368) เดือน 9 แรม 7 ค่ำ วันเสาร์ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ 4 ฉบับปิดทองล่องชาด ขอบด้านขวา 1 ฉบับทองทึบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 14 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้

SAC001-007 จูฬวา ปาฬิ นิสสยะ และอภิธาน ปาฬิ นิสสยะ

ธรรมคดี
อนาโตล , ใบลาน , พม่า , ธรรมคดี , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

- คัมภีร์อภิธานหรือคัมภีร์พจนานุกรม เป็นคัมภีร์ว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่ในโลก มนุษย์ บนสวรรค์ ใต้บาดาล และอบายภูมิ ได้แก่ คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เป็นต้น - คัมภีร์อภิธานที่รวบรวมคำศัพท์ที่จารึกอยู่ในคัมภีร์ไตรเวทและคัมภีร์เวทางค์ เป็นภาษาสันสกฤต เช่น คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ ต่อมา มีการรจนาคัมภีร์อภิธานเป็นภาษาบาลีขึ้น คือ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา รวบรวมคำศัพท์ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ไว้อย่างสมบูรณ์ และมีคัมภีร์อธิบายอีกหลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา คัมภีร์อภิธานสูจิ คัมภีร์อภิธานนิสสยะ เป็นต้น ศักราช จ.ศ.1268 (พ.ศ.2449) เดือน 2 แรม 7 ค่ำ วันศุกร์ สภาพเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับ มีรอยการตัดขอบลานด้านยาว ร่องรอยว่าเป็นฉบับทองทึบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 8 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้

SAC001-039 อภิธรรมปฐาน ปุคคะละปัญญัติ

ธรรมคดี
อนาโตล , พับสา , ไทใหญ่ , พม่า , บาลี , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

พระอภิธรรมเป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องปรมัตถธรรม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั่นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของจิต เจตสิก รูป เท่านั้น พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น 42000 พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ ได้แก่ คัมภีร์ธัมมสังคิณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ปุคคลปัญญัติ คัมภีร์กถาวัตถุ คัมภีร์ยมก และคัมภีร์พระมหาปัฏฐาน ศักราช จ.ศ.1285 (พ.ศ.2466) สภาพเอกสาร อยู่ในกล่องกระดาษสีฟ้า ห่อกระดาษสาบาง เย็บหัว มีห่อผ้าเย็บติดกับตัวเล่ม รหัสเอกสารเดิม LPR.735/2544 อภิธรรมปฐาน ปุคคะละปัญญัติ ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้

SAC001-001 วิสุทธิมัคค์ อัฏฐกะถา ปาลิ

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ใบลานอักษรพม่า , ธรรมคดี

คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา รจนาขึ้นโดยพระพุทธโฆสเถระ(พระพุทธโฆษาจารย์) ชาวอินเดีย เมื่อ พ.ศ.956 ที่ประเทศศรีลังกา ถือเป็นพระไตรปิฏกฉบับย่อ กล่าวคือสรุปความจากพระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรม อันได้แก่ไตรสิกขา ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ศักราช จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ มีไม้ประกับ ลงรักทาชาด มีรอยการตัดขอบลาน สายผ้ามัดลวดลายอักษรพม่า รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 1 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-036 ปรมัตถะ พินธุ นิสสยะ

ธรรมคดี
อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร , ใบลาน , พม่า

ปรมัตถพินทุ แปลภาษาบาลีแบบยกศัพท์เป็นภาษาพม่า ปรมัตถพินทุเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีสายกัจจายนะที่แต่งในพม่า ผลงานไวยากรณ์บาลีอีกเรื่องหนึ่งของพระเจ้าโจสะวา ศักราช จ.ศ.1203 (พ.ศ.2384) เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสาร อักษรพม่า 38 ทีมาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้

SAC001-011 ภิกขุนี ปาจิต และ วินัย ปาจิต

ธรรมคดี
พม่า , บาลี , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ว่าด้วยเรื่อง ปาจิตตีย์ หมายถึง “การละเมิดอันยังกุศลให้ตก”, ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งจัดไว้ในจำพวกอาบัติเบาเรียกลหุกาบัติ พ้นด้วยการแสดง ;เป็นชื่อสิกขาบท ได้แก่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 และสุทธิกปาจิตตีย์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า ปาจิตตีย์ อีก 92 ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบท 122 ข้อเหล่านี้ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ เช่น ภิกษุพูดปด ฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน ว่ายน้ำเล่น เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ศักราช จ.ศ. 1142 (พ.ศ. 2323) เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงชาด รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 12 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-023 นาม นิสสยะ

ธรรมคดี
อักษรพม่า , บาลี , อนาโตล , ใบลาน , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ว่าด้วยเรื่อง นาม แปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ;นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป ศักราช จ.ศ. 1205 (พ.ศ. 2386) เดือน 4 ขึ้น 6 ค่ำ วันศุกร์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด, เส้นอักษรบาง ไม่ชัด ผิวใบลานสีไม่สม่ำเสมอ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 24 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

SAC001-024 สิทธิ ปาฬิ

ธรรมคดี
ใบลาน , เอกสารโบราณ , พม่า , บาลี , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

สิทธิบาฬิ อาจเป็นบาลีไวยกรณ์ ศักราช จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เดือน 5 ขึ้น 7 ค่ำ สภาพของเอกสาร แตกผูกมารวมกัน สามารถแยกได้ประมาณ 5 เรื่อง มีไม้ประกับ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 25 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ บันทึกอื่น ๆ ลานชุดที่ 3 น่าจะเป็นชุดเดียวกันกับ คัมภีร์อักษรพม่า 29 อะนุโมทะนา ลังการะ (พระธรรมพระเจดีย์ 4 องค์) เนื่องจากมีรูปอักษรตรงกัน ประกอบกับมีลำดับอังกาต่อเนื่องกัน ใบลานมีไม่ครบ ขาดหายไปบางส่วน และเรียงสลับหน้าลาน ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 58 ใบ รวมทั้งหมด 180 ใบ”

SAC001-031 สุตตันตะ 6 เล่มรวม

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ 1. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร 2. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง 152 สูตร 3. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม 56 สังยุตต์ มี 7,762 สูตร 4. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม 11 นิบาต หรือ 11 หมวดธรรม มี 9,557 สูตร 5. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี 15 คัมภีร์ ศักราช จ.ศ. 1233 (พ.ศ. 2414) เดือน 12 แรม 10 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ(ไม้ประกับแตก 1 อัน) ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 33 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก