พระอภิธรรมเป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องปรมัตถธรรม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึงบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั่นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของจิต เจตสิก รูป เท่านั้น พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น 42000 พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ ได้แก่ คัมภีร์ธัมมสังคิณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ปุคคลปัญญัติ คัมภีร์กถาวัตถุ คัมภีร์ยมก และคัมภีร์พระมหาปัฏฐาน ศักราช จ.ศ.1285 (พ.ศ.2466) สภาพเอกสาร อยู่ในกล่องกระดาษสีฟ้า ห่อกระดาษสาบาง เย็บหัว มีห่อผ้าเย็บติดกับตัวเล่ม รหัสเอกสารเดิม LPR.735/2544 อภิธรรมปฐาน ปุคคะละปัญญัติ ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา รจนาขึ้นโดยพระพุทธโฆสเถระ(พระพุทธโฆษาจารย์) ชาวอินเดีย เมื่อ พ.ศ.956 ที่ประเทศศรีลังกา ถือเป็นพระไตรปิฏกฉบับย่อ กล่าวคือสรุปความจากพระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรม อันได้แก่ไตรสิกขา ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ศักราช จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ มีไม้ประกับ ลงรักทาชาด มีรอยการตัดขอบลาน สายผ้ามัดลวดลายอักษรพม่า รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 1 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
มนต์โองการมหาเถรตำแย หรือโองการพระมหาเถรตำแย ใช้ปรุงน้ำมนต์แก้คุณไสยคุณคน แก้โรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆ
กล่าวถึงตำรับยาสมุนไพรต่างๆ เช่น ยาแก้ไข้ทุรนทุราย ยาแก้ไข้สันนิบาต ยาแก้ตานซาง ยาแก้ริดสีดวง ยาเขียว ยาหอมน้อย ยาบำรุงเลือด เป็นต้น
ว่าด้วยเรื่อง พระพุทธเจ้าผจญมารและได้รับชัยชนะ 8 ครั้งสำคัญ อันได้แก่ ผจญพญามารนามสวสัตี, ผจญอาฬวกยักษ์, ผจญพญาช้างนาฬาคิรี, เผชิญหน้าโจรองคุลิมาล, ผจญนางจิญจมาณวิกา, ผจญสัจจนิครนถ์, ผจญพญานาคนันโทปนันทะ, และผจญพรหมชื่อพกะ ศักราช จ.ศ.1214 (พ.ศ.2395) สภาพเอกสาร บรรจุในกล่องสีฟ้า พับกระดาษสาเย็บหัว รหัสเอกสาร LPR.734/2544 ที่มาของเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
ปรมัตถพินทุ แปลภาษาบาลีแบบยกศัพท์เป็นภาษาพม่า ปรมัตถพินทุเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีสายกัจจายนะที่แต่งในพม่า ผลงานไวยากรณ์บาลีอีกเรื่องหนึ่งของพระเจ้าโจสะวา ศักราช จ.ศ.1203 (พ.ศ.2384) เดือน 3 ขึ้น 9 ค่ำ สภาพเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับปิดทองล่องชาด รหัสเอกสาร อักษรพม่า 38 ทีมาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้
กัปปิยะ หมายถึง สมควร ควรแก่สมณะบริโภค ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ กัปปิยะการก หมายถึง ผู้ที่ทำของสมควรแก่สมณะ ผู้ที่ทำหน้าจัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค ขุททสิกขา จัดอยู่ในคัมภีร์อนุฎีกา คือปกรณ์ที่พระอนุฎีกาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายคัมภีร์ฎีกาให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งอนุฎีกานี้เป็นหลักฐานชั้น 4 รองจาก พระไตรปิฎก อรรถกา และฎีกา ศักราช จ.ศ. 1241 (พ.ศ. 2422) เดือน 5 แรม 5 ค่ำ วันเสาร์ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับมีจารึก ขอบลานมีลวดลายตัดแต่ง ฉบับลานดิบ มีการร้อยใบลานหลายใบติดกันให้หนาขึ้นเพื่อทำเป็นตัวแบ่งบท มีรอยปลวกกิน รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 6 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
หน้าต้นสมุดไทยเขียนว่าเป็น “หนังสือตรีนิสิงเห” ภายในตัวเล่มกล่าวถึง คาถาและยันต์ตรีนิสิงเหในรูปแบบต่างๆ และยันต์อื่นๆอีกเช่น ยันต์ลงตะกรุด ยันต์ลงใบพลู นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับโหราศาสตร์ เช่น ตำราห่วง ตำราโฉลกประตู ตำราการตั้งบ้านเรือน และเกี่ยวกับตำรายา เช่น ยาแก้ไข้สันนิบาต ยาต้มแก้ไข้เหนือ ยาสูบแก้ริดสีดวง ยาแก้ฝีมะเร็งกรามช้าง เป็นต้น
กล่าวด้วยพระเคราะห์เป็นหนึ่งถึงสิบสองเท่า ลัคนาร่วมราศี ลัคนาตกราศีธาตุ เป็นต้น