RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หน้าต้น พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ มีอยู่สิบ ๕ ผูกเดียวกันแล ฯะ” / หน้ารอง เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “หนังสือนี้เอามาจากเมืองเหนือ” ท้ายลาน ระบุ “กริยาเทศนาแก้ไขยังพุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนและ ฯ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหนฺตุ ฯ” หน้าปลาย ระบุ “๏ หน้าปลาย พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบแล”
เอกสารโบราณฉบับนี้ ตอนต้นกล่าวถึงตำรายา เช่น ยาแก้ไข้ ซึ่งมีเพียงไม่กี่หน้า จากนั้นกล่าวถึงการดูลักษณะของคน วันมงคล เป็นต้น เอกสารโบราณฉบับนี้มีหลายลายมือ ทั้งลายมือแบบบรรจง ลายมือหวัด ตัวอักษรทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนลายเส้น ทั้งเส้นหมึกดำ หมึกน้ำเงิน และดินสอ
หน้าต้น กล่าวถึง ตำรายารักษาโรคซาง อาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา นอกจากนี้ยังภาพวาดเป็นรูปคนและตำแหน่งของโรคอีกด้วย ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง และภาพยันต์ เช่น ยันต์กันศัตรู ยันต์กันหนู เป็นต้น
เอกสารโบราณนี้อาจเป็นเอกสารฉบับเดียวกับ NPT003-010 ที่ขาดจากกันก็ได้เพราะมีเนื้อหาคล้ายๆ กัน คือ หน้าต้น กล่าวถึงตำรายารักษาโรคอาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง
อภิธัมมัตถสังคหะ หมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว ต่อมามีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะมาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด 9 ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด
อาการมรณะญาณ หรือคัมภีร์มรณญาณสูตร เป็นคัมภีร์ที่กล่าวเกี่ยวกับการรับรู้หรือนิมิตของบุคคลก่อนที่จะตาย ซึ่งอยู่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ หมวดตำราเวชศาสตร์
RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า พุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ แล บริบูรณ์แล้วเท่านี้แล คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พุทธวงส์” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่มเศษแล” หน้าปลาย ระบุ “๚ หน้ารับปลายพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก)
RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ตัวบ่ใคร่ละเอียดเนอฯ ฯะ ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล ท่องแล้วทานแล้วตามสบับเก่าเพิ่นแล” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” และสีแดง “ผูกที่ ๒” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๒ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลานระบุ “ธมฺมโสกาภิเสฺกกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ สวณฺณนา แก้ไขในมหาวงศ์ห้องอภิเษก ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่ม พ.ศ.๒๔๖๓ ปีวอก เดียน ๓ ออกใหม่ ๙ ค่ำ ยามนั้นแล ๚ อหํ นาม ชื่อว่า ผู้ใหญ่คำ บ้านนาโป่ง หมู่ที่ ๕ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลพิษณุโลก เป็นลิขิตหื้อปู่ใจ เมืองราทธี มีใจบุพเจตนาบ่แล้ว ๚ ผ่องแผ้วยินดี แม่นว่า เกิดมาในชาติใดๆ ก็ดี ขอให้มีพี่แก้วน้องแก้วมิตรสหายแก้วอันยิ่งโยชน์ในพระศรีอริยเมตไตรยภายในฝ่ายก้ำหน้าแด่เทอะ ตัวอักษรข้าเจ้าก็บ่ใคร่งามเต็มทีเนอ พ่อลุงเหย ฯ อายุ วณฺโณ สุข พลนฺติ สาธุ สาธุ แด่เทอะ” (ตัวเอียงจารด้วยอักษรไทย) หน้าปลาย ระบุ “๚ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ๚ ปริปุณณะ ฯฯ” วันเวลาที่จารเสร็จ สันนิษฐานว่าตรงกับตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2464(2463 เป็นปีที่ยังถือเอาเดือนเมษายนเป็นวันปีใหม่)
อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ