ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/68 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ ใบลานที่มีเลขอังกา 1-5 น่าจะมาจากผูกเดียวกัน ส่วนใบลานที่เหลือน่าจะมาจากผูกอื่น เพราะขนาดต่างกัน
ขวัญ หรือ ขวน คือสิ่งที่เป็นมิ่งมงคลสถิตอยู่กับชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ ชาวไทยคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับขวัญมาก และมีพิธีกรรมในการเรียกขวัญ ปลอบขวัญอยู่ทุกขั้นตอนของรอบชีวิตหนึ่ง ๆ เช่น สู่ขวัญเด็ก สู่ขวัญนาค สู่ขวัญบ่าวสาว สู่ขวัญคนป่วย เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/43 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “สูดขวน (สู่ขวัญ) : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4782-4787.
เสียเคราะห์ คือพิธีสะเดาะเคราะห์ ซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่า อำนาจเหนือธรรมชาติมีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะบุคคลที่เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เนืองๆ นั้นเพราะถูกอำนาจเหนือธรรมชาติกระทำ หรือถูกสิ่งที่ชั่วร้ายเข้าสิงในร่างกายทำให้บุคคลผู้นั้นทำกินไม่ขึ้นหรือไม่เจริญก้าวหน้า ฉะนั้นจำเป็นจะต้องปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ออกไป ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/41 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง ธวัช ปุณโณทก. “เสียเคราะห์ 2 : พิธีกรรม.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 14. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4847-4848. หมายเหตุ ใบลานมาจากคนละผูก
ข้อความเขียนว่า “เสียเคราะห์ บูชาฟ้า อย่าติได้” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/40 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ใบลานมี 2 ขนาด สันนิษฐานว่าน่าจะคละจากผูกอื่นปนกัน ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/37 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
พิธีกรรมนี้เกิดจากความเชื่อว่าเจ้าแม่โพสพตกใจขวัญหนืดอนที่ชาวนานวดข้าว ต้องใช้วัวควายย่ำฟ่อนข้าวเพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว หรือใช้ไม้พันกับฟ้อนข้าวแล้วฟาดลงไปบนลานข้าว เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดจากรวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ทารุณต่อขวัญข้าว ฉะนั้นจึงต้องทำพิธีเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่กับเมล็ดข้าว หรือเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่โพสพ และร้องขอวิงวอนให้มาอยู่คุ้มครองเมล็ดข้าวเปลือกในยุ้งข้าวต่อไป คำสู่ขวัญบางสำนวนอาจจะกล่าวถึงเทพยดา ให้ช่วยมาคุ้มครองให้ข้าวในยุ้งเพิ่มพูนทวีขึ้นก็มี การกำหนดวันพิธี ไม่เคร่งครัดนัก แต่ชาวอีสานมีความเชื่อว่า วันอาทิตย์เป็นวันเกิดของเจ้าแม่โพสพ จึงมักจะประกอบพิธีทำขวัญยุ้งข้าวหรือ บุญข้าวขึ้นเล้า ในวันอาทิตย์ ส่วนสถานที่ทำพิธีนั้นมักจะทำที่ลานหน้ายุ้งฉางหรือในฉางข้าว ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/36 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา ข้อมูลอ้างอิง “ข้าวขึ้นเล้า, บุญ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 502-503.
กล่าวถึงเรื่องดำเนินพระราม เทพจร ราหูจร และยันต์ต่างๆ เช่น กรเทพพระรำลึก ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์ลงผาประเจียด เป็นต้น
หน้าต้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ยันต์ และคาถาต่างๆ เช่น คาถาเสกน้ำมัน คาถาเสกนกคุ้ม ฯลฯ หน้าปลายเป็นเรื่องเวชศาสตร์ เช่น การนวดสลักเพชร แก้ลมอัมพฤกษ์ ยาแก้กาฬจับหัวใจ เป็นต้น
สมุดไทยดำ กล่าวถึง ยันต์และคาถากำกับ เช่น ยันต์แก้คุณไสย ยันต์ประจำทิศต่างๆ เป็นต้น