ตำรายาสูตรต่างๆ เช่น ยาแก้สันนิบาต ไข้ลากสาด ไข้ฝีดาษ เป็นต้น ในหน้าปลายกล่าวถึงคัมภีร์อาไภยสาลี
ตำรายาเกี่ยวกับโรคลม ในคัมภีร์ชวดาร เกี่ยวกับลมต่างในร่างกายที่ไหลหมุนเวียนอยู่ หากเกิดความผิดปกติกับลมดังกล่าวก็จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ ซึ่งมีสูตรยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคต่างๆ เหล่านั้นด้วย ท้ายเรื่องเป็นภาพยันต์ชนิดต่างๆ
ตำราเล่มนี้ประกอบด้วย พระคาถาพุทธนิมิต การเรียนคาถาพุทธนิมิต ยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์แม่หินลูกหิน การทำลูกประคำ ยันต์ตะกรุด ยันต์ลงแหวนพิรอด ยันต์จักรพรรตราพญายันต์ ยันต์ทำไส้เทียน ยันต์ลงผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีบันทึกตำรับยาด้วยดินสอได้แก่ ยาแก้รากสาดสันนิบาตสองคลอง ยาต้มหม้อใหญ่ ยาคุดทะราด ยาตัดคุดทะราด
กล่าวถึง โรค อาการเจ็บป่วย และสูตรยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ อาทิ ยารักษาฝี ยาแก้ตะคริว ยาแก้ขัดเบา ยาแก้กาฬ ยาอาจารย์อัมวัดตะหลุก ยาทิพย์ไสยาสน์ ยาดองแก้เลือดหญิงอยู่ไฟไม่ได้ ยาบำรุงโลหิต ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประจุไข้เหนือ ยาพินทุกาฬ ยามหานิลแท่งทอง ยาเนาวโกฐ และยาครรภ์ทรักษา ฯลฯ
กล่าวถึงการทำยาหม้อใหญ่แก้คุณไสย ยาหม้อใหญ้แก้สารพัดโรค แก้ฝีในท้อง ไข้สันนิบาต เป็นต้น ยันต์ลงศิลาฤกษ์ หรือเสาเอก สร้างอาคารต่างๆ ยันต์จัตตุโรลงตัดเสาตอนลงดิน หน้าปลายเป็นเรื่องโองการมะกรูดแปดกิ่ง หรือโองการพระอรหันต์แปดทิศ เป็นคาถาที่ใช้ทำน้ำมนต์รดไข้ ถอนพิษคุณไสย ต่างๆ
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะทาส ๗ ประการ ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสได้มาข้างบิดามารดา ทาสมีผู้ให้ ทาสที่ได้ช่วยเมื่อต้องโทษทัณฑ์ ทาสที่เลี้ยงดูมาในยามข้าวยากหมากแพง ทาสเชลย และทาสสินไถ่ การตกเป็นทาสประเภทต่างๆ การตั้งค่าตัว การไถ่ถอน การปฏิบัติตน สิทธิหน้าที่ของทาสประเภทต่างๆ ระหว่างทาสกับนายเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ รวมทั้งกำหนดว่า ทาสคือ คนของพระมหากษัตริย์ ที่นายเงินจะลงโทษถึงตายไม่ได้
พระตำรับเลขเจ็ดตัว เป็นตำราโหราศาสตร์อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ได้แก่ วันจม วันฟู วันลอย, การดูสมพงษ์, ฉัตรสามชั้น, ตำรับชั้น, เทพจร และตำรายาแก้โรคกระษัยต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของหน้าต้นต่อไปจนถึงหน้าปลายและเขียนด้วยดินสอ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ในส่วนที่เป็นเรื่องของตำรายาสมุนไพรนั้นเขียนขึ้นคนละคราวกับพระตำรับเลขเจ็ดตัว และโหราศาสตร์เรื่องอื่นๆ
พระมหาเวสสันดรฉบับนี้ ผู้เขียนได้บอกในตอนท้ายว่าได้เขียนตั้งแต่ต้นคือ กัณฑ์ทศพร จนถึงกัณฑ์นครกัณฑ์ ทั้งหมดสิบสามกัณฑ์ แต่ที่พบมีเพียงกัณฑ์วนปเวสน์จนถึงกัณฑ์นครกัณฑ์เท่านั้นรวมสิบกัณฑ์ เนื่องจากเอกสารไม่สมบูรณ์ เขียนด้วยฉันท์และกาพย์ ตอนสุดท้ายมีประชุมชาดก นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาด้วย ได้แก่ เรื่องการคบมิตรที่ยกเอานิทานธรรมเรื่องนกแขกเต้ามาเป็นตัวอย่าง เรื่องมงคลทีปนี เกี่ยวกับการไม่คบคนพาล โดยยกนิทานธรรมเรื่องพระเทวทัตกับเจ้าชายอชาตศัตรู
คัมภีร์ธาตุพิการ อาการ 32 ลักษณะไข้เหนือต่างๆ คือประดง 6 จำพวก ฝีกาฬ 7 จำพวก แม่ตะงาว 3 จำพวก ปาน 3 จำพวก ฝีเลือด 2 จำพวก ลาดสาด 7 จำพวก สูตรยาเบญจกูลต่างๆ