หน้าทับเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มัทรีป่าเพียวเทศขัก” และเขียนปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรี ผูก ๙” ท้ายลานระบุ “มทฺที ปพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนายังมัทรีปริเจทอันประดับประดาไปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่าได้ ๙๐ ทัส ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีมะเมีย เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์ ยามบ่ายโมง ๑ กับ ๒๕ ภินิด แลเจ้าเหย รัสสภิกขุอินธสอนเขียน บ่ดีขัด อาวชายเหือน กับภริยาชื่อว่า นางนา อยู่ดอนกอก ก็พร้อมกับด้วยลูกหญิงลูกชาย ก็อุบายหาใบลานหื้อภิกขุอินธอง สร้างหนังสือมัทรีฉบับป่าเภียว ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้า ขอหื้อผู้สร้างผู้เขียน สุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ หมู่ผู้ข้าทั้งหลายได้สร้างธรรมเขียนธรรม หมู่ข้าน้อยทั้งหลายก็พาเอากันปรารถนาเอาสัพพัญญุตญาณสิ่งเดียวแลเจ้าเหย เขียนบ่ดี สติบ่ตั้ง เพราะสาวบ้านเค้ามะคร้อ ครั้นว่ามันมาวัด มันเหลียวมาผ่อแต่หน้า ครั้นข้าบ่ผ่อก็อดบ่ได้ ครั้นข้าผ่อไป มันบิดหน้าหนี อีสาวอัปรีย์ช่างผ่อหน้าทุแลนา ขอหื้อมีประหญาปัญญาอันเฉลียวฉลาดชูตัวธรรม อย่าหื้อเป็นกรรมเป็นเวรแก่ข้า ขอหื้อบุญอันเขียนตัวธรรมนี้ไปลูบ(ลบ)ตัวกรรมตัวเวรอันกระทำมาหื้อเสี้ยงแด่เทอะ [นิพฺพา]น ปจฺจโย โหตุ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ”
หน้าทับเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีแดงระบุ “โมคคัลลาหลงโลก” ลานแรกด้านซ้ายมือระบุ “โมคคราโหลงโลก” เขียนเลขไทยกำกับหน้าด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินด้านซ้ายมือของลานหน้าหงาย “๑ - ๑๖”, เขียนภาษาไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินกำกับชื่อบุคคลในเนื้อหา และเขียนแก้ไขด้วยปากกาเมจิกสีแดง ท้ายลานระบุ “มหาโมคฺคลฺลานชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวสังวรรณนาเทศนายังมหาโมคคัลลานเถรเจ้าอันไปหลงโลกอันออกมาในฏีกาธรรมบทก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ จบแล้วเจ้าศรัทธา ทุพี่ค่ำก็พร้อมกับโยมแลน้องสร้างไว้ค้ำชูพระศาสนาโคตมเจ้านี้ก็ขอหื้อมีสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดชู่ผู้ชู่คนแลเจ้าเหย บ่ใคร่ดีหลาย ทุพี่ค่ำเหย มันผิดทัดใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ทุพี่เหยผ่อไปตามันช่างลายเสียแลนา ทุพี่เหย ๚๛”
หน้าทับเค้าเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินระบุ “มหาวิบาก เรื่องเปรต ไม่มีภิกษุ” ท้ายลานระบุ “กล่าวห้องมหาวิบากตามอันย่อแคบ ก็สมมุติด้วยเวลาเท่านี้ก่อนแล ฯ๛ เสด็จแล้วตาวันรอแลงแลนายเหย ข้าเขียนบ่ดี อย่าไปเล่าขวัญหัวข้าเนอ พ่อแม่ข้ามีศรัทธามาลาไปซื้อใบลานมาหื้อผู้ข้าน้อยเขียน พ่อชื่ออยู่ แม่ชื่อมาก มีใจศรัทธาซื้อใบลานมาหื้อผู้ข้าเขียนแลฯ๛” หน้าทับปลาย เขียนดินสอสีฟ้า ระบุ “หนังสือนายมี(อักษรธรรมล้านนา) หนังสือนายมี(อักษรไทย)” มีการแก้ไขคำศัพท์และเพิ่มเติมวรรณยุกต์ด้วยปากกาลูกลื่น
ตำรายาฉบับนี้กล่าวถึง ภาพตำแหน่งของฝี ชื่อฝี และยาต้มสมุนไพร และมีภาพยันต์สำหรับใส่หม้อต้ม
ไชยเชษฐ์ เป็น นิทานพื้นบ้าน สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน
ท้าวลินทอง เป็นการตั้งชื่อเรื่องจากตัวละครเอกที่ชื่อ “ลินทอง” เพื่อสอดคล้องกับตัวละครเอกที่ในอดีตชาติ “ลินทอง” เป็นพระโพธิ์สัตว์กลับชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ลินทอง เป็นวรรณกรรมศาสนา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ เรื่องการทูต หรือเรื่องคารมเสน่หา จนในปัจจุบันผู้คนนิยมเอาคาถาลินทองไปเจรจาธุรกิจ หรือเอาไปใช้ในการจีบผู้หญิง