เอกสารโบราณ

ภาษา : ไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,154 รายการ (129 หน้า)

NPT003-006 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , ตำรายา , สมุนไพร , รักษาโรค

เอกสารโบราณ กล่าวถึง โรคและสมุนไพรในการรักษาโรค เช่น ยารักษาโรคตา ยาแก้โรคสันนิบาต เป็นต้น

NPT003-005 โจทย์คณิตศาสตร์

ตำราเวชศาสตร์ , ตำราคณิตศาสตร์
วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , คณิตศาสตร์ , ตำรายา , โจทย์เลข , แบบฝึกหัด

หน้าต้น กล่าวถึง โจทย์เลขคณิตสอนวิธี บวก ลบ คูณ หาร เขียนด้วยหมึกดำลายมือเป็นระเบียบสวยงาม หน้าปลาย เป็นตำรายา กล่าวถึงโรคและสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ

NPT003-004 ตำนานมูลศาสนา

ธรรมคดี
วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , ธรรมคดี , สมุดไทย ,

ตำนานมูลศาสนา หรือ มูลศาสนาวงศ์ เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา แต่งโดยพระพุทธกามและพระพุทธญาณ ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงพญาแก้ว ต้นฉบับในใบลาน ใช้ชื่อว่า มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) และมาใช้ชื่อ ตำนานมูลศาสนา เมื่อกรมศิลปากรปริวรรต ฉบับภาษาไทยกลาง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2480

NPT010-003 อาการมรณะญาณ

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
NPT010-003 , ตำรายา , ตำราโหราศาสตร์ , นครปฐม , วัดสำโรง

อาการมรณะญาณ หรือคัมภีร์มรณญาณสูตร เป็นคัมภีร์ที่กล่าวเกี่ยวกับการรับรู้หรือนิมิตของบุคคลก่อนที่จะตาย ซึ่งอยู่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ หมวดตำราเวชศาสตร์

RBR003-253 มหาวงศ์ ผูก 2

ธรรมคดี , ประวัติศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มหาวงศ์ , พงศาวดารเมืองลังกา

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ตัวบ่ใคร่ละเอียดเนอฯ ฯะ ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล ท่องแล้วทานแล้วตามสบับเก่าเพิ่นแล” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” และสีแดง “ผูกที่ ๒” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๒ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลานระบุ “ธมฺมโสกาภิเสฺกกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ สวณฺณนา แก้ไขในมหาวงศ์ห้องอภิเษก ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่ม พ.ศ.๒๔๖๓ ปีวอก เดียน ๓ ออกใหม่ ๙ ค่ำ ยามนั้นแล ๚ อหํ นาม ชื่อว่า ผู้ใหญ่คำ บ้านนาโป่ง หมู่ที่ ๕ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลพิษณุโลก เป็นลิขิตหื้อปู่ใจ เมืองราทธี มีใจบุพเจตนาบ่แล้ว ๚ ผ่องแผ้วยินดี แม่นว่า เกิดมาในชาติใดๆ ก็ดี ขอให้มีพี่แก้วน้องแก้วมิตรสหายแก้วอันยิ่งโยชน์ในพระศรีอริยเมตไตรยภายในฝ่ายก้ำหน้าแด่เทอะ ตัวอักษรข้าเจ้าก็บ่ใคร่งามเต็มทีเนอ พ่อลุงเหย ฯ อายุ วณฺโณ สุข พลนฺติ สาธุ สาธุ แด่เทอะ” (ตัวเอียงจารด้วยอักษรไทย) หน้าปลาย ระบุ “๚ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ๚ ปริปุณณะ ฯฯ” วันเวลาที่จารเสร็จ สันนิษฐานว่าตรงกับตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2464(2463 เป็นปีที่ยังถือเอาเดือนเมษายนเป็นวันปีใหม่)

RBR003-245 พระมาลัยปลาย ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , พระมาลัย , นรก , สวรรค์ , พระศรีอาริย์

RBR_003_244-248 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 29 พระมาลัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 5 ผูก” / RBR_003_244-245 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “ฯฯ หน้าทับเค้ามาลัยปลายผูก ๒ แลท่านเอย ฯฯะ๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มาลัย ผูก ๒ มีกับกัน ๒ ผูก” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “มาลัย ผูก ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังทุติยะพระมาลัย ผูกถ้วนสอง ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯะ๛ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม อนาคเตกาเล มาลัย ผูก ๒ ภิกขุสุวรรณอินทอง วัดนาโพเขียนหื้อท่านสัน วัดดอนแจง” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

RBR003-242 นรชีวะ ผูก 4

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , นรชีวะ

RBR_003_239-243 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 26 นรชิวสูตร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” / RBR_003_239-242 ชุดเดียวกัน ทองทึบ ทองหลุด พื้นรัก หน้าทับต้น ระบุ “ฯฯ นรชีวะ ผูกถ้วน ๔ แลนายเหย ฯ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ ๒๕ ลาน ใบลาน ๒๕ ลาน สร้างไว้ค้ำชูพระ” ท้ายลาน ระบุ “มหานรชีวชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนาสำแดงยังมหานรชีวชาตกผูกถ้วน ๔ ก็สมเสด็จแล้วบอระมวลควรแก่กาลธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ ศรัทธารัสสภิกขุนวร ได้เขียนได้สร้างแล ฯฯ เสด็จแล้วพอตา[วัน]เที่ยงพอดีก็งามแลนายเหย”

RBR003-135 มะลิซ้อน ผูกต้น

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , มะลิซ้อน , นันทกุมาร

มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 55 มะลิซ้อน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะลิซ้อน มี 4 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะลิซ้อน ผูก ๑” หน้าลานแรก ระบุ “หน้าทับเค้า มะลิซ้อน ผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “นันทกุมาร ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้ว บอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาก็แล้วเท่านี้ก่อน ๚ จบแล้ว นายเหย รัสสภิกขุ พุทธบาร เขียนปางเมื่ออยู่วัดนาหนองบวชได้วัสสา ๑ เขียนบ่อดีสักน้อย เพราะอยากใคร่สิกข์เต็มทีแล้วท่านเอย ฯฯ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน

RBR003-219 หอยสังข์ ผูก 5

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , หอยสังข์ , สุวรรณหอยสังข์ , สุวรรณสังข์

RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าสุวรรณหอยสังข์ผูก ๕ มีอยู่หกผูก๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หอยสังข์ผูก ๕” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “เจ้าสุวรรณหอยสังข์ผูก ๕ มี ๕ ผูกกับกัน ฯ บ้านหนองผ้าขาวนามนาโพ ฯ วัดโพธิ” / ด้านหลัง ระบุ “หน้าทับเค้า สุวรรณหอยสังข์ผูก ๕ มีหกผูกกับกันแล” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราช นิฏฺฐิตา กิริยาอันจายังสุวรรณสังขราชกัณฑ์ถ้วน ๕ ก็เสด็จบอระมาลเท่านี้ก่อนแล ๛ เสด็จแล้ววันเสาร์ ในเพล แลนายเหย || ที่นี้ || รัสสภิกขุอิน อยู่บ้านมะโก มีศรัทธา กับทั้งบิดา คือว่า พ่อ มารดา คือว่า แม่เห่งข้า กับทับพี่อ้ายพี่เอื้อยพร้อมกันมีศรัทธากับผู้ข้าสร้างหนังสือกับนี้ ชื่อว่า เจ้าสุวรรณสังข์ ผูก ๕ เสด็จแล้วปีจอ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ วัน ๖ ข้านี้หังว่าเขียนบ่งามสักน้อยแท้ใด ลางตัวเหงี่ยงหัวเข้า ลางตัวเหงี่ยงหัวออก คันว่าผิดที่ใด ใส่หื้อข้าเทอะเนอ ๛”