ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ สมถะ เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ และวิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น (ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/กรรมฐาน)
พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)
เตมียราชกุมารไม่ต้องการครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ด้วยเพราะทรงเห็นพระราชบิดาลงโทษโจรด้วยความทารุณ ทำให้พระองค์ทรงระลึกถึงอดีตชาติที่พระองค์ทรงเคยเป็นพระราชาครองเมืองนี้ และได้กระทำบาปกรรมทำให้ต้องตกนรกถึงแปดหมื่นปี จึงแกล้งทำตัวเป็นใบ้ หูหนวก เป็นง่อย ไม่ว่าพระราชบิดาพระราชมารดาจะทดสอบด้วยวิธีการใด เตมียราชกุมารก็ไม่ปรากฎอาการพิรุธใดๆ จนพระชนมายุ 16 พรรษา พวกพราหมณ์ทำนายว่า เตมียราชกุมารเป็นคนกาลกิณี ให้นำไปฝังเสียที่ป่าช้า โดยมอบให้สารถีขับรถม้าบรรทุกเตมียรากุมารไปจัดการเพียงผู้เดียว ขณะที่สารถีกำลังขุดหลุมเตมียราชกุมารก็ลงจากรถและสนทนากับสารถีว่าตนไม่อยากครองราชย์แต่ประสงค์ออกบวช และได้แสดงธรรมให้สารถีฟัง สารถีเลื่อมใสจึงขออกบวชด้วย แต่เตมียกุมารไม่ยินยอม บอกให้สารถีเอารถไปคืนและแจ้งแก่พระราชบิดาและพระราชมารดาของตน เมื่อฝ่ายคนในวังรู้จึงออกไปทูลให้เตมียราชกุมารกลับไปครองเมือง แต่เตมียราชกุมารปฏิเสธและได้แสดงธรรมให้เหล่าผู้ที่มาทั้งหมดได้ฟัง เมื่อได้ฟังแล้วทำให้เกิดความเลื่อมใสจึงขอออกบวชตามเตมียราชกุมารทั้งหมด
บันทึกด้วยอักษรไทยความว่า “พ่อบูน แม่อยู่ สร้างให้พ่อกลั่น แม่ขำ แม่แจ่ม นะปัจโยโหตุ”
บันทึกด้วยอักษรไทยความว่า “พ่อบูน แม่อยู่ สร้างให้พ่อกลั่น แม่ขำ แม่แจ่ม นะปัจโยโหตุ”
บันทึกด้วยอักษรไทยความว่า “พ่อบูน แม่อยู่ สร้างให้พ่อกลั่น แม่ขำ แม่แจ่ม นะปัจโยโหตุ”
บันทึกด้วยอักษรไทยความว่า “พ่อบูน แม่อยู่ สร้างให้พ่อกลั่น แม่ขำ แม่แจ่ม นะปัจโยโหตุ”
บันทึกด้วยอักษรไทยความว่า “พ่อบูน แม่อยู่ สร้างให้พ่อกลั่น แม่ขำ แม่แจ่ม นะปัจโยโหตุ”
บันทึกด้วยอักษรไทยความว่า “พ่อบูน แม่อยู่ สร้างให้พ่อกลั่น แม่ขำ แม่แจ่ม นะปัจโยโหตุ”