เอกสารโบราณ

เส้นตัวอักษร : จาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ (98 หน้า)

RBR003-256 มหาวงศ์ ผูก 5

ธรรมคดี , ประวัติศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มหาวงศ์ , พงศาวดารเมืองลังกา

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกด้วยกันแลเจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๕”และสีน้ำเงิน “มหาวงค์” ท้ายลาน ระบุ “สุชนปสาทสงฺเวคตฺถายก มหาวงฺเส ปริจฺเจท อันถ้วน ๑๑ ชื่อ เทวานํ ปิยติสฺสภิเสกปริจฺเจท อันมีในมหาวงศ์อันอาจารย์เจ้าแต่งแปลง เพื่อหื้อบังเกิดยังประสาทะศรัทธาแล บังเกิดสังเวคญาณ สะดุ้งตกใจกลัวในวัฏสงสารแห่ง[โส]ตุชนทั้งหลายก็บรมวลด้วยประการดั่งกล่าวมาเท่านี้ก่อนแล ๚ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหตุ เม นิจฺจํ ดั่งนี้แก่ข้าแด่เทอะ ๛” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกแล เจ้าเหย คล่องแล้ว คล่องแล้ว แล้ว แล” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๕ วัดดอนแจ่ง”

RBR003-290 มโหสถ ผูก 1

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หนังสือมโหสถ ผูกหนึ่งแล มีสิบผูกกับกันแลนายเหย อย่าไปหื้อพรากเสียกันเนอ ฯฯ๛ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูกต้น ตัวบ่มนสักน้อย ค่อยพิจารณาดูเทอะ ที่ผิดก็มี ที่ถูกก็มี บ่ดีไหนหลาย อย่าไปเสียใจเนอ เจ้าใบลานชู่คนเหย ๚ ๚ ๚ ๚ ๚ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐” / เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “๑” และปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะโหสด ผูก ๑” ท้ายลาน ระบุ “ปริจเฉทธรรมเทศนามโหสถบัณฑิตอันเป็นปฐมผูกต้น อันพิจารณาถ้อยคำโจรลักงัวเป็นเค้า ตราบต่อเท่าเถิงโตรลักเมีย ก็สมเร็จเสด็จบรมวลเท่านี้ก่อนแล ๚ ๚ รัสสภิกขุธอง เขียนปางเมื่อพื้น (เพิ่น-เพื่อน?) อยู่วัดหนองบักดอแล เสด็จแล้วเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พร่ำว่าเป็นวันเสาร์แล ๚ ข้าเขียนหนังสือมโหสถผูกนี้ ข้าขอกุศลนาบุญแผ่ผายไปรอดไปถึงปิตตามารดาข้าจิ่มเทอะ ครูบาอาจารย์กับทั้งเจ้าใบลานพื้น (เพิ่น-เพื่อน?) ชู่ผู้ชู่คนเทอะ ขอหื้อได้เหมือนกันชู่คนแด่เนอ อย่าไปด่าข้าเนอ ลางเทื่อก็ตามืด ลางเทื่อก็ตาดำ ลางเทื่อก็เจ็บหลัง ลางเทื่อก็เจ็บแอว เ[เ]สนเทื่อก็นั่ง เ[เ]สนเทื่อก็นอน เดิกออนซอนมาจะดาปุนอี้ ฟ้าปันหมอนเท่ามืดมัวฟันมาเป็นทุกบ้านเล่า ไกลกันยากแท้เด ปูนอี้ผีเหยผีสังบ่ตีแผ่นดินหื้อไหลหลิ่งค้อย หื้อบ้านค้อยไหลชูนายพร่องเด นายเจ้าแม่ผู้เดียวเหย ๚ ๛ ข้ าผู้เขียนนี้อย่า ปรารถนาเล่าเกิดมาชาติใดแสนใด(ฉันใด)ขอหื้อมีสติปัญญาสลาดอาจรู้ คู่เยื่องพันอันนั้นเนอ เพราะว่าลำบากเหลือห[ล]าย สายสุดใจแม่คันนาถ้วนสมกระบวนนายธานี ๚ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ ใบลานครูบาอาจารย์เหย อย่าไปด่าข้าเนอ จบแล้ว”

RBR003-287 มังคลัตถทีปนี ผูก 11

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มงคลสูตร

RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถทีปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า มังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบ ๑ ปริปุณณา บ่าย ๓ โมงเย็น แล คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ผูก ๑๑” ท้ายลาน ระบุ “โวหารธรรมเทศนามังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบเอ็ด ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนและ บริบูรณ์แล้ว ยามบ่าย ๓ โมงเย็น เจ้าข้า นิจฺจํ ธุวํ แก่ข้า พร่องแด่เทอะ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ นิพฺพานํ ดั่งนี้แท้และ หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าทับปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบ ๑ และ คล่องแล้ว”

RBR003-280 มังคลัตถทีปนี ผูก 4

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มงคลสูตร

RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถะทิปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับต้น มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ และ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “ผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “โวหารมังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๖ ทุ่ม เดือนสิบเอ็ด แรม ๕ ค่ำ ปีมะเมีย ศักราช สองพัน ๔๗๒ และ ยามนั้นและ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ แล เจ้าที่ไหว้ ตัวอักษรบ่ใคร่ละเอียดเต็มทีอย่าแล้ว”

RBR003-277 มังคลัตถทีปนี ผูก 1

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มงคลสูตร

RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถะทิปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มงคลทิปปานี” และเขียนอักษรจีนด้วยหมึกดำไม่ทราบความหมาย ท้ายลาน ระบุ “กริยาสังวรรณนาแก้ไขยังโวหารมังคลทีปนี ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จบรมวลเท่านี้ก่อนและ ฯ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๕ ทุ่มเศษ เจ้าข้าแล ฯฯะ”

RBR003-271 พุทธวงศ์ ผูก 10

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , พุทธวงศ์ , สาย , พระพุทธเจ้า

RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หน้าต้น พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ มีอยู่สิบ ๕ ผูกเดียวกันแล ฯะ” / หน้ารอง เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “หนังสือนี้เอามาจากเมืองเหนือ” ท้ายลาน ระบุ “กริยาเทศนาแก้ไขยังพุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนและ ฯ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหนฺตุ ฯ” หน้าปลาย ระบุ “๏ หน้าปลาย พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบแล”

RBR003-263 พุทธวงศ์ ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , พุทธวงศ์ , สาย , พระพุทธเจ้า

RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า พุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ แล บริบูรณ์แล้วเท่านี้แล คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พุทธวงส์” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่มเศษแล” หน้าปลาย ระบุ “๚ หน้ารับปลายพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก)

RBR003-253 มหาวงศ์ ผูก 2

ธรรมคดี , ประวัติศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มหาวงศ์ , พงศาวดารเมืองลังกา

RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าต้น มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ตัวบ่ใคร่ละเอียดเนอฯ ฯะ ศรัทธาปู่ใจสร้างไว้ค้ำศาสนาแล ท่องแล้วทานแล้วตามสบับเก่าเพิ่นแล” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวงศ์” และสีแดง “ผูกที่ ๒” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๒ วัดดอนแจ่ง” ท้ายลานระบุ “ธมฺมโสกาภิเสฺกกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ สวณฺณนา แก้ไขในมหาวงศ์ห้องอภิเษก ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่ม พ.ศ.๒๔๖๓ ปีวอก เดียน ๓ ออกใหม่ ๙ ค่ำ ยามนั้นแล ๚ อหํ นาม ชื่อว่า ผู้ใหญ่คำ บ้านนาโป่ง หมู่ที่ ๕ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลพิษณุโลก เป็นลิขิตหื้อปู่ใจ เมืองราทธี มีใจบุพเจตนาบ่แล้ว ๚ ผ่องแผ้วยินดี แม่นว่า เกิดมาในชาติใดๆ ก็ดี ขอให้มีพี่แก้วน้องแก้วมิตรสหายแก้วอันยิ่งโยชน์ในพระศรีอริยเมตไตรยภายในฝ่ายก้ำหน้าแด่เทอะ ตัวอักษรข้าเจ้าก็บ่ใคร่งามเต็มทีเนอ พ่อลุงเหย ฯ อายุ วณฺโณ สุข พลนฺติ สาธุ สาธุ แด่เทอะ” (ตัวเอียงจารด้วยอักษรไทย) หน้าปลาย ระบุ “๚ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ๚ ปริปุณณะ ฯฯ” วันเวลาที่จารเสร็จ สันนิษฐานว่าตรงกับตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีวอก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2464(2463 เป็นปีที่ยังถือเอาเดือนเมษายนเป็นวันปีใหม่)

SKN001-075 อานิสงส์สงกรานต์

ธรรมคดี
มอญ , บาลี , ใบลาน , ล่องชาด , วัดเจ็ดริ้ว , สมุทรสาคร , ธรรมคดี , อานิสงส์

อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ